Categories
บทความ

น้ำแอร์หยดเกิดจากอะไร วิธีแก้ไขปัญหาน้ำแอร์รั่วไหลเบื้องต้นแบบง่ายๆ

น้ำแอร์หยดเกิดจากอะไร วิธีแก้ไขปัญหาน้ำแอร์รั่วไหลเบื้องต้นแบบง่ายๆ

  • ปัญหาน้ำแอร์หยดด้านในนี่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยตามบ้านทั่วไป ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มักจะพาความรำคาญจากความเปียกชื้น และยังอาจทำให้เกิดอันตรายจากไฟรั่วได้อีก สาเหตุที่ทำให้น้ำแอร์หยดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน วันนี้เราจะมาแนะนำถึงสาเหตุและวิธีแก้ไข ในกรณีที่เกิดน้ำแอร์หยดครับ

    สาเหตุ
    1. เกิดจากถาดหรือท่อทิ้งน้ำนั้นตัน ทำให้น้ำที่เกิดจากกระบวนการฟอกอากาศ ไม่สามารถระบายออกไปได้ จึงล้นและไหล ย้อนกลับมา กลายเป็นน้ำที่หยดซึมมาจากตัวแอร์ในที่สุด
    2. ถาดคอยล์ด้านหลังของแผงคีบแอร์นั้นเกิดตัน และทำให้เกิดมีหยดน้ำเกาะอยู่นอกตัวแอร์
    3. ถาดน้ำทิ้งเกิดการชำรุด เช่นหลุด หรือแตก
    4. การเดินท่อภายในของช่างนั้นไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้หุ้มท่อไม่ได้มาตรฐาน และเกิดหยดน้ำเกาะรอบๆ ตัวจนหยดออกมานอกตัวแอร์ได้ในที่สุด

    วิธีแก้ไข
    1. ควรทำความสะอาดโยการใช้โบลเวอร์ (Blower) หรือเครื่องเป่าไฟฟ้า ไล่น้ำออกให้แห้ง โดยบริเวณที่เน้นมากๆ คือท่อน้ำทิ้งและบริเวณปลายท่อ
    2. แก้ไขโดยการล้างแอร์ ซึ่งหากผู้ใช้งานมีความชำนาญก็สามารถถอดส่วนประกอบ หรือท่อแอร์ออกมาล้างได้เลย หรือหากไม่มีความชำนาญ สามารถเรียกช่างแอร์มาล้างก็ได้ครับ
    3. หากแอร์นั้นมีความสกปรกมาก เช่นฝุ่นหรือมีคราบสกปรกไปเกาะอยู่จำนวนมาก เครื่องจะระบายความเย็นออกมาไม่ทัน ทำให้เกิดน้ำแข็งจับและกลายเป็นหยดน้ำออกมานอกเครื่องได้ในที่สุด กรณีนี้ควรติดต่อเรียกช่างแอร์จะดีกว่าครับ เพราะต้องทำการรื้อเครื่องดูจุดที่สกปรกซึ่งอยู่ภายในเครื่องแอร์นั่นเอง
    4. อีกสาเหตุที่พบได้บ่อยคือน้ำยาแอร์มีน้อยจนเกินไป หรืออาจเกิดจากการรั่วซึมของน้ำยา ควรติดต่อช่างแอร์โดยด่วน เพราะน้ำยาแอร์นี้เป็นส่วนที่สำคัญต่อการเกิดความเย็น ถ้าหากมีน้อยเกินไปจะทำให้ตัวแอร์นั้นปรับอากาศได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจทำให้เครื่องรวนหรือพังไปเลยก็ได้
    5. ตรวจดูว่าภายในเครื่องมีสัตว์จำพวกหนู หรือแมลงเข้าไปอาศัยหรือตายติดอยู่หรือไม่ เพราะบางครั้งสัตว์จำพวกนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของท่อแอร์ภายในเครื่องได้
    6. ตรวจดูถาดน้ำทิ้ง หากพบว่าเลื่อน หรือเคลื่อน ควรทำการแก้ไขให้อยู่ในสภาพเดิม

    การแก้ปัญหาน้ำแอร์หยดนั้น ทางที่ดีควรติดต่อเรียกช่างแอร์ หรือคนที่มีความชำนาญจะดีกว่า เพราะส่วนใหญ่นั้นเป็นเรื่องของทางเทคนิค และเครื่องแอร์นั้นก็มีความซับซ้อนมาก หากไม่ชำนาญหรือไม่เคยรื้อเครื่องมาก่อน อาจทำให้เกิดความเสียหายได้
Categories
บทความ

ร้อนนี้ต้องรู้ ! เปิดพัดลมพร้อมแอร์ ประหยัดไฟ แถมเย็นกว่าเห็น ๆ

ร้อนนี้ต้องรู้ ! เปิดพัดลมพร้อมแอร์ ประหยัดไฟ แถมเย็นกว่าเห็น ๆ

  • การเปิดพัดลมพร้อมแอร์จะช่วยเพิ่มความเร็วลม และกระจายทิศทางลมภายในห้อง ซึ่งเป็นปัจจัยของความรู้สึกเย็นสบาย เมื่อลมพัดผ่านร่างกาย จะช่วยระบายความร้อน และยังลดอุณหภูมิได้ถึง 2 องศา
  • เมื่อเราเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานน้อยลงและสั้นลง เพราะมีการตัดการทำงานไวขึ้น จึงทำให้กินไฟลดลงและประหยัดค่าไฟมากกว่าเดิมนั่นเอง

ขึ้นชื่อว่าเมืองไทย จะวันไหน ๆ ก็ร้อน เหมือนทั้งปีมีอยู่ฤดูเดียว จะไม่เปิดแอร์ก็คงอยู่ไม่ไหว แต่ถ้าเปิดทั้งวันก็เปลืองเกินไป บิลค่าไฟพุ่งไม่หยุด ยิ่งในยุคเงินเฟ้อและเศรษฐกิจแบบนี้ด้วยแล้ว วันนี้ไดกิ้นเลยมีอะไรดี ๆ มาบอก กับเทคนิคเปิดพัดลมพร้อมแอร์ให้ห้องเย็นคลายร้อน แถมประหยัดค่าไฟ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

ทำไมเปิดพัดลมพร้อมแอร์ถึงเย็นกว่า?

การใช้งานพัดลมในห้องนอน

ภาพ: การใช้งานพัดลมในห้องนอน

หลายคนคงเคยได้ยินที่เขาบอกว่าให้เปิดพัดลมพร้อมแอร์ แล้วห้องจะเย็นกว่า เคยสงสัยไหมว่าทำไม ? ที่จริงแล้วการที่เรารู้สึกเย็นสบายในห้อง มีปัจจัยหลักด้วยกัน 3 ข้อ คือ

  1. อุณหภูมิของอากาศ (Temperature) ตัวบ่งบอกระดับความร้อนหรือเย็น มักวัดออกมาเป็นตัวเลขในหน่วยองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮด์ ยิ่งมีค่าน้อย เราก็จะยิ่งรู้สึกเย็น
  2. ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative humidity) อัตราส่วนของปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศต่อไอน้ำอิ่มตัว ยิ่งความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ เหงื่อจากร่างกายเราจะระเหยเพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกเย็นขึ้น
  3. ความเร็วลม (Wind Speed) เมื่อลมพัดผ่านร่างกาย จะช่วยในการระบายความร้อน จนทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงและเย็นสบายมากขึ้น

เมื่อเราเปิดแอร์ เป็นหน้าที่ของเจ้าเครื่องปรับอากาศที่จะช่วยปรับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องให้ลดลง เพื่อให้เรารู้สึกเย็นมากขึ้น แต่เมื่อเราเปิดพัดลมพร้อมแอร์ พัดลมจะช่วยเพิ่มความเร็วลม กระจายความเย็นไปทั่วห้อง และแลกเปลี่ยนความร้อนกับร่างกาย นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเย็นกว่าเดิมนั่นเอง

เปิดพัดลมพร้อมแอร์ ประหยัดไฟกว่าเดิมได้อย่างไร?

ห้องนั่งเล่นที่ติดตั้งแอร์ไดกิ้น

ภาพ: ห้องนั่งเล่นที่ติดตั้งแอร์ไดกิ้น

ที่เปิดพัดลมพร้อมแอร์แล้วประหยัดยิ่งกว่า เพราะเราสามารถตั้งอุณหภูมิห้องสูงขึ้นได้ ในขณะที่ยังรู้สึกเย็นสบาย เพราะพัดลมช่วยกระจายความเย็นไปทั่วห้อง และแน่นอนว่าการตั้งงอุณหภูมิสูง ๆ จะกินไฟน้อยกว่าอุณหภูมิต่ำ เราจึงสามารถประหยัดไฟและเซฟเงินในกระเป๋าได้นั่นเอง
ยิ่งถ้าเปิดพัดลมไปพร้อม ๆ กับการเปิดแอร์ที่เป็นระบบ Inverter ก็จะประหยัดไฟยิ่งกว่า เพราะเมื่อเปิดแอร์มาสักระยะ คอมเพรสเซอร์จะไม่หยุดทำงาน แต่ลดการทำงานลงเพื่อช่วยคงอุณหภูมิในห้องไว้อย่างแม่นยำ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ก็จะเร่งการทำงานขึ้นอีกครั้ง โดยไม่ต้องรีสตาร์ทระบบใหม่ให้เปลืองไฟ

หลังจากได้ทราบกันไปแล้วว่าทำไมเปิดพัดลมไปพร้อม ๆ กับเปิดแอร์ถึงเย็นกว่า แถมประหยัดค่าไฟ ช่วยเซฟเงินในกระเป๋า เราไปดูกันดีกว่าว่ามีเทคนิคยังไง ที่จะเปิดแอร์กับพัดลมให้ประหยัดไฟได้

เทคนิคเปิดพัดลมพร้อมแอร์ เย็นฉ่ำแถมประหยัดไฟ

1. เปิด 27 องศา ห้องก็เย็นได้

การปรับอุณหภูมิแอร์ให้สูงขึ้น

ภาพ: การปรับอุณหภูมิแอร์ให้สูงขึ้น

เทคนิคแรก คือ การตั้งอุณหภูมิแอร์ให้สูงขึ้น ตัวเลขที่แนะนำคือ 27 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เพียงพอในการลดความชื้นในห้อง ให้เรารู้สึกเย็นสบายมากขึ้น ทำให้ประหยัดไฟได้มากกว่าการเปิดแอร์อุณหภูมิต่ำ ๆ 23-24 องศา ที่ปกติเราเปิดกัน เพราะคอมเพรสเซอร์แอร์จะทำงานน้อยลง

2. เปิดพัดลมเสริม เย็นสะบัด

การเปิดพัดลมพร้อมแอร์ ช่วยกระจายความเย็น

ภาพ: การเปิดพัดลมพร้อมแอร์ ช่วยกระจายความเย็น

พัดลมนั้นกินไฟน้อยกว่าแอร์มาก ๆ ถึง 10 เท่า จึงเป็นอีกตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยเซฟเงินในกระเป๋าคุณ เพียงเปิดพัดลมควบคู่กับการเปิดแอร์อุณหภูมิ 27 องศา ช่วยเพิ่มความเร็วลมและการกระจายตัวของอากาศในห้อง ลดอุณหภูมิได้ถึง 2 องศา เท่านี้ก็ได้ห้องแอร์เย็นฉ่ำเหมือนเปิดแอร์ปกติแล้ว

3. วางพัดลมใกล้ตัวและเปิดส่าย เย็นกระจายได้ทั่วห้อง

การเปิดพัดลมกระจายความเย็น

ภาพ: การเปิดพัดลมกระจายความเย็น

เมื่อจะเปิดพัดลมพร้อมแอร์เป็นตัวช่วยประหยัดไฟ ก็อย่าลืมเลือกวางตำแหน่งพัดลมใกล้บริเวณที่เรานั่งหรือนอน และปรับพัดลมพัดให้ส่ายไปทั่วห้อง จะใช้เป็นพัดลมตั้งพื้นหรือติดผนังก็ได้ และเลือกเปิดเบอร์ 2-3 เพียงเท่านี้ พัดลมก็จะช่วยกระจายความเย็น คลายร้อนให้เราได้แล้ว

4. ล้างแอร์ทุก 3-6 เดือน บอกลาฝุ่นหมักหมม

การล้างแอร์เป็นประจำ

ภาพ: การล้างแอร์เป็นประจำ

สิ่งสำคัญที่สุดที่ไม่ควรมองข้ามเลย คือ การล้างแอร์นั่นเอง เพราะเครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งที่เราใช้ตลอดแทบจะทุกวัน มักจะมีสิ่งสกปรก ฝุ่นและเชื้อโรคเข้าไปติดสะสมอยู่ตามแผ่นกรองอากาศ เจ้าตัวร้ายพวกนี้นอกจากส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังจะทำให้แอร์มีกลิ่นอับชื้นอีกด้วย จึงควรล้างแอร์ทุก ๆ 3-6 เดือน เพื่อให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ห้องเย็นเร็ว คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานหนัก และไม่กินไฟนั่นเอง

หลังจากได้รู้เทคนิคการเปิดพัดลมพร้อมแอร์ให้เย็นสบายทั่วห้องเพื่อเซฟเงินในกระเป๋าแล้ว แต่รู้ไหม เราจะประหยัดไฟได้ยิ่งกว่า ถ้าเลือกแอร์ที่มาพร้อมเทคโนโลยีเจ๋ง ๆ ช่วยคุณอีกแรง วันนี้ไดกิ้นเลยขอมาแนะนำแอร์ Inverter 3 รุ่น สุดประหยัด ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

 

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการเปิดแอร์พร้อมพัดลม

1. เปิดแอร์พร้อมเปิดพัดลมอันตรายไหม ?

การใช้งานแอร์ในห้องทำงาน

ภาพ: การใช้งานแอร์ในห้องทำงาน

การเปิดแอร์พร้อมกับการเปิดพัดลมเป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้ห้องเย็นขึ้นจากลมเท่านั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตราย แต่ควรระมัดระวังไม่ให้ลมจ่อไปโดนที่จมูกโดยตรง เพราะลมจะพัดความชื้นในจมูกออกไปจนหมด ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกแห้ง ตื่นมาจมูกแห้ง ปากแห้งและคอแห้งนั่นเอง

2. เปิดพัดลม 2 ตัว กับเปิดแอร์ อะไรประหยัดกว่ากัน ?

 การใช้งานพัดลม 2 ตัว

ภาพ: การใช้งานพัดลม 2 ตัว

การเปิดเครื่องปรับอากาศ 1 เครื่อง กินไฟเท่ากับการเปิดพัดลมหลายสิบตัวพร้อมกันเลยทีเดียว เนื่องจากพัดลมนั้นกินไฟน้อยกว่าแอร์มาก ๆ แต่ถ้าจะเปิดพัดลมอย่างเดียว ห้องก็จะมีแต่ลม แต่ร้อนเหมือนเดิม เพราะอุณหภูมิเท่าเดิม จึงแนะนำให้เปิดแอร์อุณหภูมิสูงพร้อมกับการเปิดพัดลมช่วยกระจายความเย็นไปจะดีที่สุด

สรุป

และนี่ก็คือเทคนิคดี ๆ เปิดพัดลมพร้อมแอร์ให้เย็นฉ่ำ แถมช่วยประหยัดค่าไฟมากขึ้น อย่าลืมลองนำไปปรับใช้กันดู จะประหยัดไฟ และเซฟเงินได้ยิ่งกว่า ถ้าเลือกใช้แอร์ที่มีคุณภาพ BTU เหมาะสมกับขนาดห้องและการใช้งาน นี่ก็จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเซฟเงินในกระเป๋า ท่ามกลางอากาศร้อน ๆ และค่าไฟแพงแบบนี้นั่นเอง

Categories
บทความ

8 สาเหตุแอร์ไม่เย็น พร้อม 5 เทคนิคแก้ไขเองง่ายๆ

8 สาเหตุแอร์ไม่เย็น พร้อม 5 เทคนิคแก้ไขเองง่ายๆ

หนึ่งในปัญหาสำคัญของการอยู่อาศัยคอนโด (หรือแม้แต่บ้านแนวราบหรือหอพักใดๆ ก็ตาม) ในช่วงฤดูที่อากาศร้อนอบอ้าวของเมืองไทย เชื่อว่าก็คงจะไม่พ้นปัญหาเรื่องแอร์ไม่เย็นอย่างแน่นอน ซึ่งเจ้าปัญหาแอร์ไม่เย็นนี่แหละที่ทำให้เรารู้สึกรำคาญและไม่สบายเนื้อสบายตัวเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นตอนนอน หรือตอนที่ต้องการพักผ่อนอยู่ในห้องช่วงวันหยุด ในประเด็นปัญหาที่พักอาศัยวันนี้ JARTON ก็จะมาชำแหละปัญหาแอร์ไม่เย็นให้ผู้อ่านทราบ ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง แล้วเราจะมีวิธีในการแก้ปัญหาแอร์ไม่เย็นกันได้อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลย

 

ปัญหาแอร์ไม่เย็น เกิดจากอะไร

          ปัญหาของเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ ไม่ว่าจะเป็นแอร์ไม่เย็น หรือแอร์เย็นช้า หรือแอร์ไม่ได้เย็นฉ่ำเหมือนตอนที่ติดตั้งใหม่ๆ ก็อาจจะมีต้นตอได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การปรับโหมดแอร์ในรีโมทโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจหรือไม่รู้ตัว ทำให้แอร์ไม่ทำงานให้เย็น หรืออาจจะเกิดมาจากการที่คอมเพรสเซอร์แอร์เกิดขัดข้อง หรืออาจจะเกิดมาจากไส้กรองอากาศในเครื่องแอร์สกปรกสะสมมานาน หรือน้ำยาแอร์หมดก็เป็นไปได้เช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้นปัญหาแอร์ไม่เย็นก็อาจจะเกิดได้จากสาเหตุใหญ่ๆ อย่างแอร์มีรอยรั่ว เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้แอร์ไม่เย็น

          สาเหตุของปัญหาแอร์ไม่เย็น สามารถสรุปเป็นข้อต่างๆ ได้ดังนี้

1. ปัญหาแอร์ไม่เย็นจากการไม่เติมน้ำยาแอร์

          น้ำยาแอร์เป็นสารที่ช่วยในการทำความเย็น หากแอร์ไม่เย็นสักที ส่วนใหญ่ก็มีสาเหตุมาจากน้ำยาแอร์ไม่เพียงพอ แต่หากเพิ่งเติมน้ำยาแอร์ไม่นานแต่แอร์ก็ยังไม่เย็นอีก ให้เราลองสังเกตดูว่ามีการรั่วที่แอร์หรือไม่ ท่อส่งน้ำยาแอร์อุดตันหรือเปล่า เพราะสาเหตุย่อยพวกนี้อาจทำให้น้ำยาแอร์เข้าไปหล่อเลี้ยงในเครื่องแอร์ไม่เพียงพอให้ความเย็นได้ตามที่ตั้งค่าไว้นั่นเอง

2. ปัญหาแอร์ไม่เย็นจากการไม่ได้ล้างแอร์

          การไม่ล้างแอร์ จะทำให้แอร์ไม่เย็นได้จากสิ่งสกปรกสะสมโดยเฉพาะฝุ่นต่างๆ  ซึ่งสามารถเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรคและสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเข้าไปอุดตันในไส้กรองอากาศของเครื่องแอร์ในห้อง และที่คอมเพรสเซอร์แอร์ด้านนอกจนทำให้แอร์ระบายความร้อนได้ไม่ดีพอ และไม่สามารถทำความเย็นได้ตามต้องการ วิธีแก้ไข้ที่ดีคือให้ล้างแอร์ตามกำหนดเป็นประจำ เช่น ทุกๆ 4 – 6 เดือน หรือหลังจากช่วงที่สภาพอากาศมีฝุ่นจัด

3. ปัญหาแอร์ไม่เย็นจากสิ่งกีดขวางทางลมของแอร์

            การโฟลว์ของลมแอร์ก็มีส่วนสำคัญในการกระจายความเย็นให้ทั่วห้อง หากมีสิ่งของวางขวางทางลมไว้ อย่างเช่น ฉากกั้นห้อง ตู้ทรงสูง หรือการติดตั้งแอร์ใกล้ขอบม้านมากเกินไป ก็จะทำให้ลมแอร์และความเย็นไม่สามารถกระจายให้ทั่วห้องได้เท่าที่ควรนั่นเอง ดังนั้นก่อนการตกแต่งห้องหรือติดตั้งแอร์จึงควรออกแบบหรือสังเกตลักษณะห้องอย่างคร่าวๆ ก่อนเพื่อดูทิศทางการกระจายลมของแอร์ด้วย

4. ปัญหาแอร์ไม่เย็นจากความเผอเรอ

          บ่อยครั้งที่ปัญหาแอร์ไม่เย็น ก็อาจมีที่มาจากการปรับโหมดในรีโมทแอร์โดยไม่ได้ตั้งใจได้อีกด้วย ซึ่งปัญหาที่มาจากรีโมทแอร์นั้น ก็สามารถเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น ปรับโหมดผิด หรือเผลอไปกดรีโมทที่โหมดพัดลม (FAN) แทนที่จะเป็นโหมดเย็น (COOL) ก็จะทำให้แอร์ปล่อยแต่ลมเปล่าๆ ออกมา หรืออย่างการเผลอไปปรับบานลมแอร์ให้กดลงจ่อพื้น หรือชี้ขึ้นเพดาน ไม่ส่ายไปมา ความเย็นก็กระจายทั่วห้องได้ช้า เป็นต้น

 

5. ปัญหาแอร์ไม่เย็นจากจำนวนคนในห้อง

          อีกสาเหตุของปัญหาแอร์ไม่เย็นที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เลยเช่นกัน คือการที่ภายในห้องมีจำนวนคนอยู่มากเกินไป และด้วยอุณหภูมิของร่างกายที่อาจจะสูงกว่าอุณหภูมิของห้อง ที่อุณหภูมิร่างกายเฉลี่ย 35 – 36 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิแอร์ทั่วไปที่นิยมปรับไว้ที่ 25 – 28 องศาเซลเซียส หากในห้องมีคนอยู่เยอะกว่าอุณหภูมิของทั้งห้องจะปรับลงได้ตามที่ตั้งค่าไว้ ก็ต้องใช้เวลานานนั่นเอง

6. ปัญหาแอร์ไม่เย็นจากค่า BTU แอร์ไม่เหมาะสมกับขนาดห้อง

          เรื่องปัญหา BTU แอร์ไม่สัมพันธ์กับขนาดห้อง ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาแอร์ไม่เย็นที่เราพบได้บ่อยมากครับ เพราะสำหรับบางคนที่อาจจะยังไม่ได้มีความรู้เรื่องการใช้แอร์ ก็อาจจะเข้าใจว่า เราจะใช้แอร์ขนาดเล็กไว้ก่อนเพราะจะได้ประหยัดไฟ ปล่อยให้แอร์ทำงานไปเดี๋ยวห้องก็เย็นเอง ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นความเข้าใจที่ผิดมากๆ เพราะว่าค่า BTU (British Thermal Unit) ของแอร์จะต้องมีความสัมพันธ์กับขนาดของห้อง ไม่มากเกินไปเพราะแอร์จะกินไฟเกินจำเป็น และไม่น้อยเกินไปเพราะแอร์จะทำงานหนักเกินไป ทั้งห้องไม่เย็นและกินไฟอีกด้วย

7. ปัญหาแอร์ไม่เย็นจากแผ่นกรองอากาศสกปรก

          บ่อยครั้งที่ปัญหาแอร์ไม่เย็นก็มาจากการแผ่นกรองอากาศหรือไส้กรองของแอร์สกปรกและมีผุ่นสะสมจนหนาได้เหมือนกัน โดยทำให้ทางลมแอร์นั้นถูกบัง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาแอร์ดูดอากาศเข้าไปได้ไม่มากเท่าที่ควรและส่งผลให้แอร์ไม่เย็นได้ครับ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาง่ายๆ ก็คือการถอดแผ่นกรองอากาศออกมาล้างทำความสะอาดฝุ่นออกไปให้หมด นอกจากนี้ยังควรทำความสะอาดแอร์ในทุก ๆ 4 – 6 เดือน หรือหลังพ้นจากช่วงที่สภาพอากาศภายนอกมีฝุ่นจัด

8. ปัญหาแอร์ไม่เย็นจากการปิดประตูและหน้าต่างไม่สนิท

          การปิดประตูหรือหน้าต่างไม่สนิท ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของปัญหาแอร์ไม่เย็นที่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับบางคนที่สงสัยว่าทำไมเปิดแอร์ตั้งนานแล้วยังไม่เย็นสักที ก็ให้ลองเช็กดูตามประตูหน้าต่างให้ดีว่าปิดสนิทมิดชิดแล้วหรือไม่ หรือเป็นไปได้ที่ขอบยางหรือแนวสักหลาดอาจเสื่อมหรือชำรุด หากมีช่องให้อากาศรั่วก็ให้ซ่อมแซมแนวขอบประตูและหน้าต่างให้เรียบร้อย

 

สามารถตรวจสอบปัญหาแอร์ไม่เย็นจากตรงไหนเองได้บ้าง

          หากเริ่มรู้สึกว่าแอร์ทำงานไม่เย็น บ่อยครั้งอาจจะมีสาเหตุมาจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราไม่คาดคิด ยังไม่ถึงขั้นแอร์เสียหรือขัดข้อง เพียงแต่ให้เราตรวจสอบเองง่ายตาม 5 วิธีนี้ก่อนในเบื่องต้น หากแอร์ยังมีปัญหาอยู่จึงค่อยดำเนินการแจ้งช่างมาซ่อมแซมจัดการแอร์ได้เลย

1. ตรวจสอบรีโมทแอร์

          จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า มีไม่น้อยที่สาเหตุที่แอร์ไม่เย็นอาจจะมาจากการตั้งค่าโหมดผิด ทำให้แอร์ไม่ทำความเย็น ให้เริ่มสังเกตที่รีโมทแอร์เป็นอันดับแรกก่อนเลยว่า แอร์ถูกตั้งค่าในโหมดพัดลมเปล่า ๆ หรือปิดการส่ายของบานพับแอร์หรือไม่ ถ้าใช่ ให้รีบกดกลับไปที่โหมด Cool (ซึ่งเป็นรูปเกล็ดหิมะ) หรือเปิดการส่ายบานพับซะ หรือหากรีโมทกดไม่ติด ไม่ส่งสัญญาณสั่งงานแอร์ ก็ให้ลองเปลี่ยนถ่านในรีโมทดูเพราะอาจจะถ่านอ่อนได้นั่นเอง

2. ตรวจสอบอุณหภูมิสภาพอากาศนอกห้อง

          สำหรับช่วงฤดูร้อนที่อากาศร้อนจัด ให้เราลองตรวจดูอุณหภูมิภายนอกห้องด้วยว่าเป็นอย่างไร ร้อนจัดแค่ไหน หากว่าอากาศร้อนจัดมากๆ ระดับอุณหภูมิที่เคยตั้งค่าแอร์ไว้เป็นประจำก็อาจจะทำความเย็นได้ไม่มากไม่เย็นดั่งใจ เราก็อาจจะต้องลดอุณหภูมิให้เย็นกว่าเดิมอีกมานิด แม้ว่าตามหลักแล้วแอร์จะกินไฟมากขึ้น แต่ก็อากาศมันร้อนนี่นาเนอะ

 

3. ตรวจสอบแผ่นกรองอากาศ

           เป็นกรณีของแอร์สะสมความสกปรกไว้นั้นเอง โดยแผ่นกรองอากาศหรือไส้กรองของแอร์จะกรองลมที่ดูดจากภายในห้องให้ผ่านขดทำความเย็น (คอยล์เย็น) ซึ่งบ่อยครั้งจะเป็นส่วนที่สะสมฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆ ให้เกาะจนบดบังทางลมแอร์นั่นเอง วิธีแก้ง่ายๆ ก็คือให้ล้างแอร์สม่ำเสมอตามกำหนดเป็นประจำ หรือหลังพ้นช่วงที่สภาพอากาศมีฝุ่นจัด

4. ตรวจสอบคอมเพรสเซอร์แอร์

          ในเครื่องปรับอากาศแอร์บางรุ่นของบางยี่ห้อจะมีระบบป้องกันไฟตก ทำให้เวลาไฟฟ้าถูกจ่ายมาที่เครื่องแอร์ (คอยล์เย็น) ทำงานต่อได้ แต่ตัวคอมเพรสเซอร์ด้านนอก (คอยล์ร้อน) จะไม่ทำงานเพราะไฟฟ้าไม่พอ โดยให้ตรวจเช็คดูว่าคอมเพรสเซอร์ยังทำงานปกติดีอยู่หรือเปล่า โดยอาจให้ลองปิดแอร์และสับเบรกเกอร์หลักที่จ่ายไฟฟ้าให้แอร์ลง เพื่อตัดการจ่ายไฟฟ้าแล้วค่อยยกเบรกเกอร์ขึ้นและลองเปิดแอร์ตามเดิม หากแอร์กลับมาเย็นดีก็แปลว่ายังทำความเย็นได้ปกติดีนั่นเอง

5. ตรวจสอบรอบการล้างแอร์

          การที่แอร์สกปรกไม่ได้จัดการแค่เพียงการล้างแผ่นไส้กรองอากาศที่ตัวเครื่องแอร์ในห้องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการต้องล้างเครื่องคอมเพรสเซอร์แอร์ที่อยู่ด้านนอกด้วย ซึ่งหากปล่อยให้เกิดคราบฝุ่นสะสมจนอุดตัน จะทำให้แอร์ระบายความร้อนได้ไม่เต็มที่ และแอร์ในห้องไม่เย็นนั่นเอง ซึ่งโดยปกติเราควรล้างแอร์เป็นรอบ ทุกๆ 4 – 6 เดือน ทั้งส่วนเครื่องแอร์ในห้องและตัวคอมเพรสเซอร์ด้านนอกด้วย

          ปัญหาแอร์ไม่เย็นนั้น นับว่าเป็นปัญหาคลาสสิคของการอยู่อาศัยคอนโด หรือที่อยู่อาศัยยุคใหม่เลยก็ว่าได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้รู้สึกรำคาญอยู่อาศัยไม่สะดวกสบายแล้ว ยังอาจส่งผลให้มีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ทั้งปัญหาค่าไฟแพงเพราะแอร์กินไฟ รวมไปถึงปัญหาแอร์เสียหรือชำรุดได้อีกด้วย โดยหากเป็นปัญหาที่มีสาเหตุเล็กน้อย เราก็อาจแก้ไขด้วยตัวเองได้ไม่ยากให้แอร์กลับมาทำความเย็นได้ตามปกติ แต่หากแอร์ทำงานขัดข้องมากกว่านี้เราจึงค่อยแจ้งช่างซ่อมเข้ามาช่วยแก้ไข

Categories
บทความ

ทำไมเปิดแอร์ 27 องศาคู่กับเปิดพัดลม ถึงประหยัดไฟกว่าเปิดแอร์อย่างเดียว

อ.เจษฎา อธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์เปิดแอร์ 27 องศาร่วมกับเปิดพัดลมจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของอากาศในห้อง สามารถประหยัดค่าไฟได้ดีกว่าการเปิดแอร์ที่ 23-24 องศา

 

กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันในกระแสสังคมเมื่อรัฐบาลออกมาแนะนำให้เปิดแอร์ที่ 27 องศาเซลเซียสและเปิดพัดลมควบคู่กันไปเพื่อเป็นการประหยัดค่าไฟ เพราะเดือนพ.ค.-เดือน ส.ค.ที่จะถึงนี้จะมีการขึ้นค่าไฟฟ้าเป็นหน่วยละ 4.00 บาท หลายคนมองว่าช่วงนี้อากาศร้อนมากการเปิดแอร์ 27 องศาเซลเซียส ไม่เย็นฉ่ำและการเปิดพัดลมคู่กันไปด้วยยิ่งจะทำให้เปลืองไฟ สู้เปิดแอร์เครื่องเดียวให้เย็นฉ่ำไปเลยจะดีกว่า

ล่าสุด รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาไขข้อสงสัยในเรื่องนี้ว่า มีคำแนะนำจากกระทรวงพลังงานออกมาหลายข้อเพื่อให้ประชาชนช่วยกันประหยัดพลังงาน ในข้อหนึ่งที่พูดถึงเครื่องปรับอากาศบอกไว้ว่า ควรเปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส พร้อมกับเปิดพัดลมตั้งพื้นควบคู่กัน ช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของอากาศในห้อง และช่วยลดอุณหภูมิลงได้ประมาณ 2 องศาเซลเซียส โดยจะช่วยให้ประหยัดไฟมากกว่าการเปิดแอร์ที่ 23-24 องศาเซลเซียส เป็นเรื่องจริง

รศ.ดร.เจษฎา อธิบายว่า หลักการคร่าวๆ คือ การเปิดแอร์ที่อุณหภูมิสูง เช่น ที่ 27 องศาเซลเซียสนั้น แอร์จะกินไฟน้อยกว่าการเปิดเเอร์ที่อุณหภูมิต่ำ เช่น ที่ 23-24 องศาเซลเซียส ที่เป็นเช่นนั้นเพราะส่วนคอยล์ร้อนหรือคอมเพรซเซอร์ของแอร์ จะทำงานน้อยลงเมื่อตั้งอุณหภูมิสูงขึ้น โดยคอมเพรสเซอร์จะทำงานไม่นาน ก็ตัดการทำงานเพราะอุณหภูมิลงไปถึงจุดที่ตั้งไว้แล้ว (27 องศาเซลเซียส) ทำให้แอร์กินไฟน้อยลงด้วย

ความจริงการที่แอร์ลดภูมิอุณหภูมิห้องลงเหลือ 27 องศาเซลเซียสนั้นก็เพียงพอที่จะลดความชื้นในห้อง จนทำให้เรารู้สึกสบายขึ้นได้แล้ว ขณะที่การเปิดพัดลม เป่ามาที่ตัวเราจะช่วยให้เรารู้สึกเย็นสบายขึ้นอีก จากกระแสลมที่มาปะทะตัว แล้วทำให้การแลกเปลี่ยนความร้อนออกจากร่างกายของเราเกิดได้ดีขึ้น และพัดลมตั้งพื้นยังกินไฟต่ำกว่าแอร์มากๆ คือ ใช้ไฟเพียงแค่ไม่กี่วัตต์เท่านั้น จะเปิดพัดลมเบอร์ 2 เบอร์ 3 หรือเปิดพัดลมเพิ่มขึ้นอีก 2-3 ตัว ก็ยังกินไฟน้อยกว่าแอร์อยู่ดี
#สรุปคือ การปรับอุณหภูมิของเครื่องแอร์ จากที่เคยตั้งไว้ 23-24 องศาเซลเซียส มาเป็น 27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมตั้งพื้นเป่าตัว ช่วยให้เราประหยัดพลังงาน ประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น และอย่าลืมว่าให้หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองแอร์ ล้างแอร์เป็นประจำด้วยนะครับ

ที่มา https://www.facebook.com/OhISeebyAjarnJess/

Categories
บทความ

ประโยชน์ของระบบระบายอากาศ

ประโยชน์ของระบบระบายอากาศ

ประโยชน์ของระบบระบายอากาศ 

วันนี้เรามาพูดถึงระบบระบายอากาศ ภายในสถานที่ปฏิบัติงาน ออฟฟิศ โรงงาน ห้องทำงานต่างๆ กันคะ ถ้าจะพูดถึงหลักการพื้นฐานของระบบระบายอากาศนั้น จะจำแนกออกมาได้เป็น ส่วนใหญ่ๆ คือ

1. การหมุนเวียนของอากาศ (Air Change) คือการการดึงอากาศบริสุทธิ์เข้ามา พร้อมกับการผลักอากาศออก ซึ่งจะช่วยเป็นการลดระดับความร้อนในพื้นที่ และช่วยเจือจางสิ่งแปลกปลอมในอากาศได้ด้วย ซึ่ง Air Change ที่ต้องการจะขึ้นอยู่กับระดับความร้อน และปริมาณก๊าซพิษในอากาศในแต่ละพื้นที่

2. อากาศถ่ายเท (Air Movement) คือ เฉกเช่นคล้ายกับการทำงานของพัดลม  นั่นคือเมื่อมีลมพัดผ่านจะเกิดการระเหยของความชื้นบนผิวหนัง ทำให้รู้สึกเย็น นอกจากนั้น Air Movement ยังช่วยระเหยความชื้นที่เกาะอยู่บนชิ้นส่วนโลหะ ป้องกันการเกิดสนิมได้
ซึ่งมาดูกันว่าเมื่อเรามีระบบระบายอากาศที่ดี 4 ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากมันจะมีอะไรบ้าง

1.ในสภาวะห้องทำงาน สถานประกอบการ หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีภาวะปิด ระบบระบายอากาศ สามารถควบคุมระดับสิ่งปนเปื้อนในอากาศให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้

2. ระบบระบายอากาศ สามารถควบคุมความร้อน ความชื้นให้อยู่ในระดับที่ส่งเสริมการทำงานของผู้ปฏิบัติงานให้รู้สึกสบาย ส่งผลให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดี และในทางตรงกันข้าม หากผู้ปฏิบัติหน้าที่รู้สึกไม่สบายอันเกิดจากความร้อนและความชื้น จะทำให้หงุดหงิด เสียสมาธิ อึดอัด และในที่สุดก็จะมีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ อันนำไปสู่ผลผลิตที่ตกต่ำ หรืออาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

3. ระบบระบายอากาศจะป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัยและการระเบิด เพราะในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทจะมีการใช้สารเคมีที่เป็นตัวทำละลายในกระบวนการผลิต ซึ่งหากมีไอสารของตัวทำละลายฟุ้งกระจายในปริมาณเข้มข้น โดยไม่มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสม หากเมื่อใดเกิดมีความร้อนหรือประกายไฟในบริเวณนั้น ก็จะทำให้เกิดการติดไฟลุกไหม้ได้

4. ระบบระบายอากาศที่ดี จะช่วยประหยัดทรัพยากร ตัวอย่างเช่น ระบบดักเก็บวัสดุที่ฟุ้งกระจายในสถานประกอบการ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะนำสิ่งนั้นมาใช้ประโยชน์ได้อีก รวมถึงลดปัญหาต้นทุนการกำจัด จัดการความสกปรก ไม่เป็นระเบียบของการฟุ้งกระจายของวัสดุ และนอกจากนี้จะช่วยให้สถานประกอบการนั้นมีสุขอนามัยที่ดีไม่ก่อให้เกิดโรคจากมลภาวะทางอากาศ
สรุปแล้ว การระบายอากาศ เป็นการนำอากาศภายนอกเข้ามาภายในอาคารและกระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของอาคาร โดยทั่วไปวัตถุประสงค์ของการระบายอากาศ คือการทำให้อากาศดีเหมาะสมต่อการหายใจโดยการเจือจางมลภาวะในอากาศในอาคารและขจัดมลภาวะในอากาศออกจากอาคารนั่นเอง

Categories
บทความ

เปิดแอร์อย่างไร ให้เย็นชื่นใจ เห็นค่าไฟแล้วไม่หนาว

เปิดแอร์อย่างไร ให้เย็นชื่นใจ เห็นค่าไฟแล้วไม่หนาว

รู้หรือไม่

การเปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 26-27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมควบคู่กันนั้น พัดลมช่วยเพิ่มความเร็วลม ระบายความร้อนออกจากร่างกาย ทำให้เย็นสบาย โดยไม่ต้องลดอุณหภูมิแอร์ เพราะการปรับลดอุณหภูมิลง 1 องศา ทำให้กินไฟมากขึ้นถึง 10% แค่นี้! ก็ช่วยประหยัดค่าไฟและเงินในกระเป๋าได้มากขึ้น

  •  

และอย่าลืม! เลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ติดดาว ⭐⭐⭐

Categories
บทความ

ระบบระบายอากาศในโรงงาน คืออะไร แตกต่างจากระบบระบายอากาศทั่วไปอย่างไร

ระบบระบายอากาศในโรงงาน คืออะไร แตกต่างจากระบบระบายอากาศทั่วไปอย่างไร

ระบบระบายอากาศในโรงงาน คือ การนำอากาศบริสุทธิ์จากภายนอก เข้ามาในพื้นที่หรือเบริเวณที่ทำงาน ในโรงงาน หรือ โรงงานผลิต และกำจัดอากาศภายในอาคารที่ปนเปื่อนผุ่นละออง หรือสารที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ

ระบบระบายอากาศในโรงงาน

ระบบระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมสำคัญอย่างไร

ระบบระบายอากาศในโรงงาน มีความสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ปลอดภัยสำหรับพนักงาน และเพื่อกำจัดหรือควบคุมสารปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆในโรงงาน

วัตถุประสงค์ของการระบายอากาศในโรงงาน

  • ปรับและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม
  • ควบคุมความชื้นสัมพันธ์ให้เหมาะสม
  • ระบายอากาศเสียทิ้ง
  • หมุนเวียนของอากาศบริสุทธิ์
  • กำจัด หรือเจือจารสารปนเปื้อนในอากาศ

ระบบระบายอากาศอุตสาหกรรมมี 2 ระบบย่อยได้แก่

ระบบจ่ายอากาศบริสุทธิ์

ซึ่งประกอบด้วยงช่องอากาศเข้า อุปกรณ์กรองอากาศสำหรับแอร์โรงงาน อุปกรณ์ทำควาร้อนและ/หรือทำความเย็น พัดลม ท่อระบายอากาศ และการวัดอัตราการจ่ายอากาศ

ระบบระบายอากาศเสีย

ซึ่งประกอบด้วย ช่องรับอากาศเข้า ตัวจับอากาศเพื่อนำอากาศที่ปนเปื้อนออกจากพื้นที่หนึ่งระบายออกไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง อุปกรณ์ทำความสะอาดอากาศ ปล่องระบายและพัดลม

ประเภทของระบบระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม

ระบบเจือจางอากาศ

ระบบเจือจางช่วยลดจำนวนสารปนเปื้อนในอากาศ โดยผสมอากาศที่ปนเปื้อนกับอากาศบริสุทธิ์ที่สะอาด ในการติดตั้งระบบเจือจางนั้น พัดลมดูดอากาศขนาดใหญ่จะติดตั้งไว้ที่ผนังหรือหลังคาโรงงาน นิยมใช้ระบบแบบนี้เมื่อ

ระบบระบายอากาศเสียในพื้นที่

ระบบนี้ใช้ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนในอากาศสูง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับพนักงานมากขึ้นระบบระบายอากาศเสียในพื้นที่จะดักจับสิ่งปนเปื้อนที่แหล่งกำเนิดและขับออกไปภายนอก มันทำงานบนหลักการที่อากาศเคลื่อนจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ความแตกต่างของแรงดันนี้เกิดจากพัดลมที่ดึงอากาศผ่านระบบระบายอากาศ

ระบบระบายและควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร

ระบบระบายและควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร ซึ่งให้ความร้อนหรือความเย็นสดชื่นแก่อาคาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบทำความร้อน การระบายอากาศ และระบบปรับอากาศ

Categories
บทความ

ทำความรู้จักกับ ระบบปรับอากาศ Air Conditioning ขนาดใหญ่ในอาคาร คืออะไร

ทำความรู้จักกับ ระบบปรับอากาศ Air Conditioning ขนาดใหญ่ในอาคาร คืออะไร

ระบบปรับอากาศ Air Conditioning คืออะไร

ตามปกติเมื่อได้ยินคำว่า “การปรับอากาศ หรือ ระบบปรับอากาศ” สิ่งแรกที่ทุกคนเข้าใจก็คือการทำอากาศให้เย็นเท่านั้น แต่ในความหมายที่แท้จริงของคำว่าการปรับอากาศแล้ว จะต้องมีความหมายรวมถึงการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศ ผ่านคอยล์เย็นและสารทำความเย็น ให้มีอุณหภูมิพอเหมาะให้คนที่อยู่ข้างในมีความรู้สึกสบาย ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ขออากาศการระบายอากาศเสียทิ้ง รวมทั้งการหมุนเวียนของอากาศบริสุทธิ์และการกรองอากาศที่สกปรกให้สะอาด

ระบบปรับอากาศในอาคาร แตกต่างอย่างไรกับเครื่องปรับอากาศแบบปกติ

เครื่องปรับอากาศแบบปกติหรือแอร์บ้าน จะมีหลักการทำงานคล้ายๆกับระบบปรับอากาศภายในอาคาร จะแตกต่างกันที่ แอร์บ้านจะให้สารทำความเย็นวิ่งผ่านคอยล์เย็นทำให้เกิดลมเย็น ส่วนระบบปรับอากาศในอาคารหรือ Chiller จะให้สารทำความเย็นทำน้ำให้เย็นก่อน แล้วจึงส่งน้ำเย็นไปหา ท่อส่งลม หรือ AHU เพื่อผลิตอากาศเย็นเข้าไปยังพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็น การเลือกรูปแบบระบบทำความเย็นในอาคาร สำนักงาน หรือบ้าน จะดูจากพื้นที่ที่ต้องการทำควมเย็นเป็นหลัก

ระบบปรับอากาศมีกี่ประเภท กี่แบบ

ระบบปรับอากาศที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้ดังนี้คือ

  1. ระบบปรับอากาศระบบน้ำยา ( Direct Expansion System ) ขนาด 1-25 Ton ความเย็น
    • นิยมใช้กับบ้านพัก , คอนโดมิเนียมที่พักอาศัย , สำนักงานที่ไม่ใหญ่มาก
  2. ระบบปรับอากาศระบบ Packaged Unit ( มี Compressor คอยล์ร้อน , คอยล์เย็น , พัดลมอยู่ในเครื่อง )
    1. ระบายความร้อนด้วยอากาศ ( 15 – 30 Ton ความเย็น )
    2. ระบายความร้อนด้วยน้ำ ( 15 – 45 Ton ความเย็น )
    • นิยมใช้กับ Office condominium ซึ่งแบ่งแยกความเป็นเจ้าของในแต่ละ Unit โดยส่วนกลางจะจัดหา Cooling Tower และ Pump ให้ ระบายความร้อนจากเครื่อง Package ให้ ซึ่งค่าไฟฟ้าแยกจ่ายตามแต่ละ Unit
  3. ระบบปรับอากาศระบบน้ำเย็น ( Chilled water system )
    1. ระบายความร้อนด้วยอากาศ Air Cooled Chiller ( 40 – 200 Ton ความเย็น )
    2. ระบายความร้อนด้วยน้ำ Water Cooled Chiller ( 100 – 1,500 Ton ความเย็น )
    • นิยมใช้กีบเจ้าของที่เป็นเจ้าของอาคาร และต้องการจ่ายค่าไฟฟ้าเองเช่น โรงแรม , ศูนย์การค้า , สำนักงาน เป็นต้น
 

ระบบการจ่ายลมเย็นของระบบปรับอากาศในอาคาร

ระบจ่ายลมเย็นของระบบปรับอากาศจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ

1. ระบบหมุนเวียนอากาศสำหรับระบบปรับอากาศแบบไม่มีท่อส่งลม ระบบนี้ใช้เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนในพื้นที่ปรับอากาศ โดยอากาศในพื้นที่จะถูกพัดลมดูดหมุนเวียนไปยังคอยล์เย็นแล้วส่งกลับไปที่ห้องปรับอากาศอีกครั้ง มีการระบายอากาศโดยพัดลมดูดอากาศที่ทำหน้าที่ดูดอากาศออกไปทิ้งยังภายนอก และเติมอากาศใหม่โดยอาศัยการแทรกซึมของอากาศตามช่องลม ขอบหน้าต่าง หรือขอบใต้ประตู

2. ระบบหมุนเวียนอากาศสำหรับระบบปรับอากาศแบบมีท่อส่งลม ระบบปรับอากาศที่ใช้ท่อส่งลมเย็นมักเป็นระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ โดยอากาศในพื้นที่ที่ต้องการปรับอากาศจะถูกพัดลมดูดหมุนเวียนอากาศกลับไปที่คอยล์เย็นผ่านทางท่อลม ซึ่งในขณะที่หมุนเวียนอากาศอยู่ก็จะมีการเติมอากาศใหม่จากภายนอกเข้าไปเพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของอากาศ และส่งกลับไปยังพื้นที่ปรับอากาศ

 

ปัจจัยสำคัญในการความคุมการปรับอากาศ สรุปได้ดังนี้

1. ปรับและควบคุมอุณหภูมิ การปรับอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศให้อยู่ในช่วงที่คนเรากำลังรู้สึกสบายเป็นสิ่งสำคัญมาก อุณหภูมิที่คนกำลังสบายควรอยู่ระหว่าง 24 – 26 องศาเซลเซียส

2. ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์มีผลต่อความสบายของมนุษย์เรามากพอๆ กับอุณหภูมิ ถ้าความชื้นสำพันธ์มีค้าน้อยมาก ก็จะทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัว ผิวแห้ง คัน ได้ ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสำหรับมนุษยืเราที่อยู่ได้สบายควรมีค่าประมาณ 50-60 %R.H. ( R.H. ย่อมาจาก Relative humidity หมายถึง ความชื้นสัมพัทธ์ )

3. ระบายอากาศเสียทิ้ง แม้ว่าในห้องปรับอากาศจะมีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม แต่ถ้าอากาศในห้องยังอับทึบและไม่บริสุทธิ์ ก็ย่อมทำให้ผู้อาศัยอยู่ข้างในรู้สึกอึดอัดและไม่สุขสบายดังนั้นการปรับอากาศจึงต้องคำนึงถึงการระบายอากาศเสียทิ้งอีกด้วย

4. การหมุนเวียนของอากาศบริสุทธิ์ การหมุนเวียนของอากาศบริสุทธิ์ภายในห้องปรับอากาศต้องคำนึงถึงความเร็วของลมด้วย ถ้าลมส่งแรกเกินไปปะทะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยตรงตลอดเวลาแล้ว จะทำให้ผู้อยู่ในห้องรู้สึกไม่สุขสบายได้

5. การกำจัดฝุ่นละออง ควันบุหรี่ กลิ่น และเสียง เนื่องจากห้องปรับอากาศต้องปิดมิดชิดมีการปรับอากาศและระบายอากาศที่ดีซึ่งเป็นการขจัดสิ่งรบกวนต่างๆได้ เช่น ฝุ่นละออง ควัน กลิ่น และเสียงอึกทึกจากภายนอกให้ลดน้องลงได้

Categories
บทความ

แอร์โรงงานอุตสาหกรรมและแอร์บ้าน แตกต่างกันยังไง?

แอร์โรงงานอุตสาหกรรมและแอร์บ้าน แตกต่างกันยังไง?

เครื่องปรับอากาศในปัจจุบันนั้น มีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ก็คือ แอร์ระดับล่าง แอร์ระดับกลาง และแอร์ระดับสูง ที่จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ซึ่งวิธีหลักๆ ในการดูระดับแอร์ก็คือค่า BTU โดยการเลือกแอร์สปีดไทม์ให้เหมาะกับการใช้งานนั้น ผู้ใช้งานจะต้องดู BTU เป็นหลักว่าเหมาะสมกับการใช้งานของเราไหม ถ้าหากผู้ใช้งานเลือกใช้ แอร์โรงงาน ไม่เป็นนั้น จะส่งผลเสียมากมายที่จะตามมาภายหลังอย่างแน่นอนไม่ว่าจะเป็นทั้งตัวเครื่องแอร์เสียง่ายและค่าใช้จ่ายที่อาจบานปลายนั่นเอง

แอร์โรงงานมีวิธีการทำงานกันอย่างไร

ในระบบแอร์โรงงานส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ระบายอากาศในสถานที่ที่มีขนาดใหญ่ โดยจะมีค่า BTU อยู่ที่ 40,000 ไปจนถึง 150,000 กันเลยทีเดียว ด้วยความที่ตัวเครื่องเองมีขนาดใหญ่ก็จำเป็นต้องใช้กำลังไฟสูงขึ้น โดยจะใช้กำลังไฟอยู่ที่ประมาณ 380 V. ซึ่งจะมีระบบหลักการทำงานที่ไม่แตกต่างกับแอร์บ้านทั่วไปมากนัก สามารถพบเห็นได้ทั่วไปใน โรงงาน อาคารประชุม และแอร์สำนักงานต่าง ๆ เป็นต้น

มีระบบหลักการทำงานที่จะคอยทำหน้าที่ผลิตความเย็นโดยการใช้น้ำเป็นตัวหลักในการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อถ่ายเทความร้อนมายังภายนอก ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางพัดลมที่ใหญ่และรอบพัดลมเยอะกว่าที่สามารถให้ความเย็นภายในห้องได้อย่างทั่วถึงและทำงานได้ต่อเนื่องมากกว่ารูปภาพแอร์บ้านทั่ว ๆ ไป

แอร์โรงงานอุตสาหกรรม

แอร์โรงงานอุตสาหกรรม ( Chiller ) เป็นแอร์อีกรุ่นที่มีระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ที่มีขนาด BTU มากกว่า 150,000 กันเลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่จะถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้าหรืออาคารขนาดใหญ่ ที่ต้องการชะลอคุณภาพของสินค้าหรือเครื่องจักรในโรงงานอุตหกรรม เป็นต้น แอร์อุตสาหกรรมเป็นแอร์รุ่นที่ต้องอยู่ในการดูแลของพนักงานและวิศวะกรเป็นพิเศษ ซึ่งจะแบ่งระบบเป็น 2 ประเภท ก็คือ

  • แอร์โรงงานอุตสาหกรรมรูปแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ( Water Cooled Chiller ) เป็นระบบขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง แต่ก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าระบบระบายอากาศด้วยอากาศเช่นกัน โดยจะคอยทำหน้าที่ในการผลิตความเย็นในรูปแบบก๊าซหรือไอเย็นความดันต่ำที่มีสภาเป็นไออิ่มตัวมาอัดอยู่ในคอมเพรสเซอร์ ( Compressor ) เพื่อถ่ายเทความร้อนให้แก่สารทำความเย็นจนมีสถานะเป็นของเหลวที่มีแรงดันสูง 
  • และนำมาลดแรงดันผ่านอุปกรณ์ลดแรงดัน ( Expansion Valve ) เพื่อฉีดของเหลวเข้าอีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) จะทำให้สารทำความเย็นรับความร้อนจากการฉีดในรอบ ๆ นั้นกลายสภาพเป็นน้ำเย็นที่จะนำมาใช้ให้เกิดความเย็นภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั่นเอง เหมาะสำหรับโรงงานที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อทำความเย็น
  • แอร์โรงงานอุตสาหกรรมรูปแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ( Air Cooled Chiller ) เป็นระบบขนาดเล็กที่มีความแตกต่างกันที่การระบายความร้อน ซึ่งจะใช้อากาศในการระบายความร้อน โดยการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นจะใช้อากาศดูดหรือเป่าไปยังขดท่อความร้อน และในระบบนี้จะต้องใช้ใบพัดลมจำนวนหลายชุดในระบบนี้ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพที่ไม่ดีเท่าระบบระบายความร้อนด้วยน้ำอย่างแน่นอน เพราะ น้ำจะมีความสามารถในการระบายความร้อนได้ดีกว่า และหากใบพัดลมชำรุด ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนจะลดลงไปด้วย เหมาะสำหรับโรงงานที่มีพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อทำความเย็น
Categories
บทความ

ไหว้เจ้าที่ ออฟฟิศใหม่

ไหว้เจ้าที่ ออฟฟิศใหม่