ปัญหาความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กลุ้มใจเพราะส่งผลกระทบอย่างมากต่อทั้งผู้อยู่อาศัยในโรงงาน รวมทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อการเก็บสินค้าและเครื่องจักรอีกด้วย
ต้นเหตุของปัญหาความร้อนส่วนใหญ่มาจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศและแสงแดดอันแรงกล้าของประเทศไทย หรือความร้อนที่ปล่อยออกมาจากตัวเครื่องจักรและกระบวนการผลิตวัสดุบางประเทศ เช่น โรงงานหล่อหลอมโลหะ โรงงานผลิตเซรามิค ฯลฯ ก็ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ วันนี้เรามีถึง 6 วิธีในการลดและระบายความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมมาให้ทุกคนนำไปปรับใช้กันดูค่ะ
1. ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ
การใช้พัดลมอุตสาหกรรมถือเป็นวิธีที่เบื้องต้นที่จะช่วยระบายความร้อนสำหรับโรงงานและอาคารเลยค่ะ เพราะพัดลมจะช่วยเป่าให้อากาศเกิดการเคลื่อนที่และหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ทำให้อากาศถ่ายเทมากขึ้น มีความอับชื้นน้อยลง ช่วยพาอากาศภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร และดูดความร้อนออกจากตัวอาคารได้เป็นอย่างดี
ก่อนจะติดตั้งหรือเลือกใช้พัดลมในโรงงาน เราควรจะต้องคำนวณอัตราการเปลี่ยนอากาศและขนาดของพัดลมให้เหมาะสมกับขนาดโรงงาน จำนวนพนักงาน และจำนวนเครื่องจักรในอาคารด้วย ตำแหน่งของพัดลมก็สำคัญค่ะ ถ้าวางไม่ถูกจุดอากาศก็อาจจะถูกระบายออกไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร
2. สร้างช่องระบายอากาศ
การติดตั้งช่องระบายอากาศรอบๆ ตัวโรงงานหรืออาคารนั้นก็ถือเป็นวิธีที่หลายบริษัทเลือกนำไปใช้ เพราะปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้คนภายในรู้สึกร้อนอบอ้าวก็คือการที่อากาศไม่หมุนเวียนและเกิดการอับชื้น การสร้างช่องระบายอากาศจึงช่วยให้อากาศถ่ายเทมากยิ่งขึ้น หลักการทำงานคือการเปิดทางให้อากาศภายในที่ร้อนอบอ้าวไหลออกไปข้างนอกและปล่อยอากาศภายนอกไหลเวียนเข้ามาแทนที่ภายในตัวอาคารนั่นเองค่ะ
3. ใช้เครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่
การใช้เครื่องปรับอากาศหรือพัดลมเคลื่อนที่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำได้ง่ายเช่นกันค่ะ โดยเราสามารถนำตัวเครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ไปวางไว้ยังจุดต่างๆ ที่พนักงานและคนงานต้องการมากที่สุดเพื่อให้ความเย็นเฉพาะจุด เช่น บริเวณใกล้เคียงกับเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรที่แผ่ความร้อน หรือแผนกกระบวนการผลิตและประกอบชิ้นส่วนในโรงงานเหล็กหรือโรงงานผลิตรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ข้อเสียคือเครื่องปรับอากาศชนิดนี้สามารถให้ความเย็นได้เฉพาะจุดเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้พนักงานไม่ได้รับอากาศเย็นอย่างทั่วถึงและนำไปสู่การซื้อเครื่องปรับอากาศเพิ่มโดยใช่เหตุ
4. ติดตั้งเครื่องลดความชื้นในอากาศ
เครื่องลดความชื้นในอากาศจะมีระบบการทำงานคล้ายๆ กับเครื่องปรับอากาศเลยค่ะ คือการดูดความชื้นออกจากอากาศ เปลี่ยนความชื้นให้กลายเป็นหยดน้ำ และหยดน้ำนั้นก็จะถูกปล่อยทิ้งผ่านท่อน้ำทิ้ง หลังจากนั้นเครื่องจะปล่อยอากาศแห้งเข้ามาแทนที่ ซึ่งนอกจากที่จะช่วยให้อากาศเย็นขึ้นแล้วยังช่วยลดโอกาสการเกิดเชื้อราจากความชื้นต้นเหตุของโรคอย่างอื่นตามมา ไม่ว่าจะเป็น ภูมิแพ้ กลาก เกลื้อน และอีกมากมาย
ข้อจำกัดของเครื่องลดความชื้นคือมันสามารถนำไปใช้ได้กับโรงงานบางประเภทเท่านั้น เช่น โรงงานอาหาร โรงงานผลิตยาง หรือโรงงานฟอกย้อม เพราะโรงงานเหล่านี้จะแผ่ความร้อนเปียกออกมาซึ่งเป็นสภาพความร้อนที่มีไอน้ำและความชื้น ในทางกลับกัน โรงงานที่ไม่สามารถใช้เครื่องลดความชื้นอากาศได้ คือโรงงานที่แผ่ความร้อนแห้ง ซึ่งเป็นความร้อนที่เกิดจากกระบวนการผลิตและแทบไม่มีความชื้นอยู่เลย เช่น โรงงานโลหะ โรงงานแก้ว เป็นต้น
5. ฉนวนกันความร้อนพ่นใต้หลังคา
การพ่นฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาถือว่าเป็นวิธีที่นิยมมากในปัจจุบัน เป็นการนำฉนวนกันความร้อนพ่นไปยังพื้นผิวใต้หลังคาเพื่อป้องกัน ดูดซับความร้อนจากแสงแดดให้ทะลุเข้ามาภายในตัวอาคารได้น้อยที่สุด
ข้อดีของฉนวนแบบพ่นนี้คือมันสามารถนำไปใช้ได้กับพื้นที่ที่มีความซับซ้อนหรือยากต่อการปูฉนวนแบบแผ่น แต่ข้อเสียของมันคือเมื่อเวลาผ่านไป ฉนวนที่พ่นไว้จะเกิดการเสื่อมสภาพที่เกิดจากรังสียูวี หมายความว่าฉนวนนั้นจะค่อยๆ หลุดร่อนลงมาอย่างต่อเนื่องเมื่อสภาพของฉนวนนั้นเสื่อม ส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของคนงานภายในอาคารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ข้อเสียนี้ก็กลายเป็นข้อจำกัดสำหรับโรงงานบางประเภทอีกด้วย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ห้ามมีสิ่งปนเปื้อนลงไปรวมอยู่กับผลิตภัณฑ์ หรืออุตสาหกรรมรถยนต์ที่ห้ามมีฝุ่นเข้าไปอยู่บนรถเช่นกัน
6. ฉนวนกันความร้อนพ่นบนหลังคา
เนื่องจากข้อจำกัดของการพ่นฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาที่เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพของคนงาน อีกหนึ่งทางเลือกของผู้ประกอบการคือการพ่นฉนวนความร้อนบนหลังคา ข้อดีก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป คุณไม่ต้องกลัวเรื่องการหลุดร่อนของฉนวนที่จะมากระทบสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์ภายในโรงงานอีกต่อไป
อย่างบริษัทโตโยโกเองได้คิดค้นนวัตกรรมหลังคาโฟม 3 ชั้น “โสะเซ” (SOSEI) ด้วยความตั้งใจที่อยากจะกำจัดปัญหานี้ไป เพราะเราให้ความสำคัญกับสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของคนงานเป็นอันดับหนึ่ง นอกจากจะสามารถสะท้อนรังสียูวีและลดอุณหภูมิใต้หลังคาได้มากสุดถึง 15 องศา และที่ ณ อุณภูมิห้องได้ถึง 4 องศาแล้ว โสะเซยังไม่ปล่อยสารที่จะไปทำลายชั้นโอโซนของโลกเราอีกด้วย เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่แก้ไขปัญหาความร้อนได้อย่าง “ยั่งยืน” จริงๆ ค่ะ
สรุปท้ายบทความ
ไม่ว่าใครก็ไม่ชอบอากาศร้อนใช่ไหมล่ะคะ พนักงานและบุคลากรในโรงงานของเราก็เช่นกัน การทำงานภายใต้อากาศที่ร้อนอบอ้าวต้องแลกมาด้วยสุขภาพกายและสุขภาพใจของพนักงาน ยิ่งไปกว่านั้น อากาศที่ร้อนมากๆ ยังอาจจะให้สินค้าเสียหาย เครื่องจักรเสื่อมสภาพ และเพิ่มต้นทุนของเครื่องปรับอากาศอีกด้วย
การแก้ปัญหาความร้อนในโรงงานจึงควรเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับผู้ประกอบการไม่แพ้การสร้างผลกำไรหรือการดำเนินงานเลยค่ะ เพราะถ้าโรงงานเย็น บุคลากรและคนงานทุกคนก็จะมีความสุขมากขึ้น ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เขามาทำงานให้เรา เราก็ยิ่งต้องดูแลสุขภาพเขาเป็นสิ่งตอบแทน