Categories
บทความ

ระบบ VRV และ VRF สำหรับแอร์โรงงาน

ระบบ VRV และ VRF สำหรับแอร์โรงงาน

ระบบปรับอากาศ VRV (Variable Refrigerant Volume) และ VRF (Variable Refrigerant Flow) เป็นเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมอุณหภูมิในอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า และสำนักงาน ระบบเหล่านี้มีความสามารถในการปรับปริมาณสารทำความเย็นตามความต้องการใช้งานจริง ทำให้ประหยัดพลังงานและมีความยืดหยุ่นสูง

ความหมายและหลักการทำงานของระบบ VRV และ VRF

ระบบ VRV (Variable Refrigerant Volume) และ VRF (Variable Refrigerant Flow) เป็นเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมอุณหภูมิในอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า และสำนักงาน ระบบเหล่านี้มีความสามารถในการปรับปริมาณสารทำความเย็นตามความต้องการใช้งานจริง ทำให้ประหยัดพลังงานและมีความยืดหยุ่นสูง

ข้อดีของระบบ VRV และ VRF สำหรับแอร์โรงงาน

  • ประหยัดพลังงาน: ระบบ VRV และ VRF สามารถปรับการทำงานตามความต้องการใช้งานจริง ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานและลดค่าไฟฟ้าได้อย่างมาก
  • ความยืดหยุ่นในการติดตั้ง: ระบบเหล่านี้สามารถติดตั้งได้ในอาคารที่มีความซับซ้อน และสามารถเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนหน่วยภายในได้ตามความต้องการใช้งาน
  • การควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำ: ระบบ VRV และ VRF สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในแต่ละพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการผลิตในโรงงาน
  • ลดเสียงรบกวน: เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ทำงานอย่างต่อเนื่องและมีการปรับความเร็วตามการใช้งานจริง ทำให้ระดับเสียงรบกวนจากการทำงานของระบบต่ำลง
  • การบำรุงรักษาง่าย: ระบบ VRV และ VRF มีโครงสร้างที่ซับซ้อนน้อยกว่าระบบปรับอากาศอื่น ๆ ทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่ายและสะดวก

การใช้งานระบบ VRV และ VRF ในโรงงานอุตสาหกรรม

การนำระบบ VRV และ VRF มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมีข้อดีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอุณหภูมิในพื้นที่การผลิต การลดความชื้นในอากาศเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา หรือการสร้างสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายสำหรับพนักงาน ทั้งนี้ ระบบยังสามารถปรับการทำงานตามจำนวนคนในพื้นที่หรือเครื่องจักรที่กำลังทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

สรุป

ระบบ VRV และ VRF เป็นเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพสูงในการควบคุมอุณหภูมิในอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ด้วยความสามารถในการปรับการทำงานตามความต้องการใช้งานจริง ทำให้ระบบเหล่านี้เป็นตัวเลือกที่ดีในการประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของโรงงาน การเลือกใช้ระบบ VRV และ VRF ในโรงงานอุตสาหกรรมจึงเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานไปพร้อมกัน
Categories
บทความ

ความแตกต่างระหว่างแอร์บ้านและแอร์โรงงาน

ความแตกต่างระหว่างแอร์บ้านและแอร์โรงงาน

การเลือกใช้งานเครื่องปรับอากาศในแต่ละประเภทสถานที่มีความแตกต่างกันมากทั้งในด้านการทำงาน ขนาด และประสิทธิภาพ ซึ่งความแตกต่างระหว่างแอร์บ้านและแอร์โรงงานนั้นมีดังนี้

1. ขนาดและกำลังของ BTU

แอร์บ้านมักจะมีขนาดเล็กกว่าแอร์โรงงาน โดยทั่วไปจะมีค่า BTU อยู่ที่ประมาณ 6,000 ถึง 40,000 BTU ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานในห้องพักหรือพื้นที่ภายในบ้าน ขณะที่แอร์โรงงานหรือแอร์อุตสาหกรรมจะมีค่า BTU สูงกว่า 150,000 BTU ขึ้นไป เพื่อรองรับการทำความเย็นในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า หรืออาคารสำนักงานขนาดใหญ่.

2. ระบบการทำงาน

แอร์บ้านส่วนใหญ่ใช้ระบบ Split Type ที่มีหน่วยคอยล์เย็นติดตั้งภายในบ้านและหน่วยคอยล์ร้อนติดตั้งภายนอกบ้าน ทำให้สะดวกในการติดตั้งและบำรุงรักษา ในทางกลับกัน แอร์โรงงานมักจะใช้ระบบ Chiller หรือระบบ VRV/VRF ที่มีการแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยน้ำและใช้พัดลมขนาดใหญ่ในการระบายความร้อน ซึ่งสามารถทำงานต่อเนื่องได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพสูงในการทำความเย็นในพื้นที่กว้าง.

3. วัสดุและโครงสร้าง

แอร์โรงงานมักถูกสร้างจากวัสดุที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรง เช่น เหล็ก สแตนเลส หรืออลูมิเนียม เพื่อให้สามารถทนต่อการใช้งานหนักและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าปกติ ขณะที่แอร์บ้านใช้วัสดุที่เบาและเหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปในครัวเรือน.

4. ค่าใช้จ่ายและการบำรุงรักษา

การติดตั้งและบำรุงรักษาแอร์โรงงานจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแอร์บ้าน เนื่องจากมีความซับซ้อนและต้องการช่างผู้เชี่ยวชาญในการดูแล แต่ในระยะยาวแอร์โรงงานจะมีความคุ้มค่าเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานและความทนทานที่สูงกว่าแอร์บ้าน.

5. ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

แอร์โรงงานมักจะมีระบบควบคุมที่ซับซ้อนและสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานตามความต้องการได้มากกว่าแอร์บ้าน เช่น การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้มากขึ้นในระยะยาว.

สรุป

การเลือกใช้งานแอร์บ้านหรือแอร์โรงงานขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและความต้องการของพื้นที่นั้นๆ แอร์บ้านเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่เล็กๆ ภายในบ้าน ขณะที่แอร์โรงงานเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ขนาดใหญ่และต้องการความทนทานและประสิทธิภาพสูง.
Categories
บทความ

อากาศร้อน ทำให้แอร์ยิ่งทำงานหนักจริงหรือ?

อากาศร้อน ทำให้แอร์ยิ่งทำงานหนักจริงหรือ?

หลายทราบกันดีอยู่แล้วว่า บ้านเราเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนอบอ้าว ยิ่งหน้าร้อนก็ยิ่งร้อนจนทำให้หลายคนอาจจะหงุดหงิด ไม่สบายตัว ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มักจะชื่นชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน ทำให้ เครื่องปรับอากาศ เป็นอีกหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจำเป็นสำหรับหลายบ้าน เพื่อคลายร้อน แต่ก็ต้องแลกกับการที่เราจะต้องมาเสียค่าไฟ เสียค่าใช้งานจากการที่เราใช้แอร์ เพราะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟเปลืองมากที่สุด และยิ่งต้องมาสู้กับสภาพอากาศบ้านเราแล้วด้วย ต้องบอกเลยว่า ต้องจ่ายค่าไฟมหาศาลในแต่ละเดือน หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ยิ่งเปิดแอร์หน้าร้อน ก็จะยิ่งทำให้แอร์ทำงานหนักมากขึ้น เพราะต้องสู้กับอากาศที่ร้อน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีเทคนิคหลายอย่างในการใช้งานแอร์ ที่จะทำให้เราสามารถประหยัดไฟไปได้เยอะในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ และสำหรับหลายคนที่สงสัยว่า การที่เราเปิดแอร์ในอากาศที่ร้อนนั้น จะยิ่งทำให้แอร์ทำงานหนักจริงหรือไม่ วันนี้ทาง SN Service เราจะมาพูดถึงประเด็นดังกล่าว เพื่อคลายข้อสงสัยให้กับหลายคนที่ใช้งานแอร์อยู่เป็นประจำ เพราะบางคนอาจะกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่าย คือสังเกตเห็นได้ชัดเลยว่า การเปิดแอร์ในหน้าร้อนหรือในช่วงที่มีอากาศร้อนนั้น ค่าไฟจะพุ่งสูงเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว

สำหรับเครื่องปรับอากาศภายในบ้านนั้น หลายต่อหลายครั้งอาจจะทำงานหนักเกินความจำเป็นเนื่องจากความร้อนและปัจจัยสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน เพื่อประหยัดพลังงานและยืดระยะเวลาการทำงานของเครื่องปรับอากาศไปในตัวควรที่หมั่นดูแลและตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าอากาศร้อนจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจจะทำให้แอร์ต้องทำงานหนัก แต่ความจริงแล้ว ก็ไม่ใช่ปัจจัยหลักเสียทีเดียว เพราะการที่แอร์ของเราทำงานหนักนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นคอยล์ร้อน ที่อาจจะติดตั้งในฝั่งที่มีแสงแดดส่องถึงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีร่มบังแดดบังฝนอาจจะทำให้เครื่องปรับอากาศร้อนขึ้นได้ง่าย ซึ่งควรที่จะทำพื้นที่ในการบังแดด เพื่อที่จะยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศและมีอากาศเย็นๆ ไหลเวียนอยู่ตลอดเวลาทุกครั้งที่เปิด หรือหากภายนอก มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ติดกับกำพงจนเกินไปหรือมีสิ่งกีดขวางการระบายความร้อนของเครื่องคอมเพรสเซอร์ ลมร้อนที่ถูกส่งออกมาจะถึงส่งกลับเข้าไปอีกครั้งจึงทำให้เครื่องปรับอากาศส่งลมร้อนออกมา ฉะนั้นควรที่จะเปลี่ยนตำแหน่งใหม่หรือเอาสิ่งกีดขวางออก นอกจากนี้ ผลกระทบที่ส่งผลมากที่สุดคือความร้อนแรงของแสงแดด หากห้องมีผนังที่ค่อนข้างบางล่ะก็จะสามารถทำให้ความร้อนจากแสงแดดเข้ามาสู่ภายในได้ ฉะนั้นหากผนังบ้านบางนั้นควรที่จะหาวัสดุกันความร้อนหรือทาสีกันความร้อนเพื่อบรรเทาความร้อนของบ้านได้ส่วนหนึ่งและทำให้เครื่องปรับอากาศของคุณทำงานได้อย่างเต็มที่ เพราะหลายคนอาจจะรู้สึกว่า ยิ่งอากาศร้อนมากเท่าไหร่ เราก็จะปรับแอร์ให้เย็นมากขึ้น นั่นก็จะทำให้แอร์ทำงานหนัก และเสียค่าไฟไปอย่างเปล่าประโยชน์ อย่างไรก็ตาม วิธีแรกที่สุดเลย ที่จะช่วยทำให้แอร์ไม่ต้องทำงานหนัก ก็คือการล้างทำความสะอาดแอร์ เพราะเมื่อแอร์มีการใช้งานไปนานๆ จะมีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกเข้าไปในตัวแอร์ และเมื่อสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้แอร์ไม่ค่อยเย็น ทำงานหนัก 

เปลืองไฟมากกว่าเดิม และถ้าฝุ่นละอองเข้าไปอุดตันในท่อน้ำแอร์ก็จะทำให้แอร์มีน้ำหยด การล้างแอร์เบื้องต้นด้วยการทำความสะอาดแผ่นกรองหยาบก็สามารถช่วยให้แอร์กลับมาทำงานได้ดีขึ้น หรือจะให้ช่างแอร์มาล้างให้สะอาดเอี่ยมอ่องก็จะทำให้แอร์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

Cr. https://snss.co.th/อากาศร้อนทำให้แอณืทำงา/

Categories
บทความ

8 วิธีเปิดแอร์สู้หน้าร้อน แต่ค่าไฟไม่กระฉูด

8 วิธีเปิดแอร์สู้หน้าร้อน แต่ค่าไฟไม่กระฉูด

1. ล้างแอร์ปีละ 2 ครั้ง เป็นอย่างน้อย

        เคยสังเกตหรือไม่ว่า แม้จะลดอุณหภูมิแอร์แล้วแต่ก็ยังไม่รู้สึกเย็น นั่นเป็นเพราะว่ามีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกที่เข้าไปในแอร์เป็นจำนวนมากนั่นเอง นอกจากลดอุณหภูมิยังไงแอร์ก็ไม่เย็น แอร์ยังทำงานหนักขึ้นและกินไฟมากอีกด้วย ดังนั้น การล้างแอร์แบบจัดเต็ม คือการถอดล้างโดยช่างผู้ชำนาญงานเพื่อให้แอร์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แถมยังช่วยยืดอายุการใช้งานและประหยัดไฟฟ้าได้ด้วย

2. เปิดพัดลมพร้อมกับเปิดแอร์

        การเปิดพัดลมไล่ความร้อนในห้องก่อนเปิดแอร์สักพัก แล้วค่อยเปิดพัดลมพร้อมกับเปิดแอร์ โดยการเพิ่มอุณหภูมิแอร์ไปที่ 27-28 องศาก็จะช่วยลดอุณหภูมิลงมาได้อีก2-3องศาเพียงเท่านี้อากาศในบ้านก็จะเย็นสบายกำลังดีแถมไม่เปลืองไฟด้วย

3. ตั้งเวลาปิดแอร์

        ต้องบอกว่า“การตั้งเวลาปิดแอร์”นั้นถือเป็นควบคุมการใช้ชั่วโมงแอร์ ให้เหมาะสมที่สุดเพื่อให้ห้องของคุณยังคงเย็นฉ่ำอยู่ตลอดเวลา แต่ทั้งนี้การตั้งเวลาปิดแอร์นั้นควรทำในช่วงเวลากลางคืนโดยตั้งเวลาปิดแอร์ในระหว่างนอนหลับอยู่ที่ช่วงประมาณตี 2-3และก่อนนอนก็ควรเปิดพัดลมทิ้งไว้พร้อมกัน ก็จะช่วยให้อากาศคงความเย็นสบายตลอดคืนจะได้ไม่ตื่นกลางดึกเพราะต้องลุกขึ้นมาปิดแอร์

4. ไม่นำความชื้นเข้าห้อง

        โดยปกติแอร์จะใช้พลังงานในการทำความเย็นอยู่ที่ 30% ส่วนอีก 70% เป็นพลังงานที่ใช้จำกัดความชื้น จึงช่วยให้สภาพอากาศภายในห้องแห้งนั่นเอง ฉะนั้น ควรหลีกเลี่ยงการนำสิ่งของที่ก่อให้เกิดความชื้นเข้ามาในห้อง อาทิ ต้นไม้หรือการตากผ้าภายในห้อง เพราะแอร์จะทำงานหนักขึ้น

5. เลี่ยงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ

        หลีกเลี่ยงการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามาในห้องแอร์ อาทิ ตู้เย็น หม้อต้มน้ำร้อน เครื่องชงกาแฟ หรือเตารีด เพราะทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้น จนทำให้แอร์ต้องทำงานหนักเกินไป

6. ปิดประตูและหน้าต่างให้สนิท

        ก่อนเปิดแอร์ทุกครั้ง ควรเช็คให้ดีก่อนว่า คุณปิดประตูหรือหน้าต่างเรียบร้อยหรือยัง เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศร้อนชื้นจากภายนอกเข้ามา ทำให้เครื่องต้องทำงานหนักขึ้น แถมยังเป็นการเพิ่มการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองด้วย

7. ปิดไฟแล้วเปิดผ้าม่านแทน

        นอกจากแสงแดดที่ทำให้เกิดความร้อนในบ้านแล้ว แสงไฟจากหลอดไฟ ก็มีส่วนที่ทำให้บ้านร้อนเหมือนกัน ฉะนั้น เพื่อลดอุณหภูมิในบ้านช่วงเวลากลางวัน จึงควนปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น แล้วเปิดผ้าม่านรับแสงสว่างจากธรรมชาติเข้ามาทดแทน เพียงเท่านี้บ้านของคุณก็สว่างขึ้น และอากาศร้อนน้อยลงไปด้วย

8. ควรปิดแอร์ก่อนออกจากห้อง

        การปิดแอร์ก่อนออกจากห้องอย่างน้อย 30 นาที – 1 ชั่วโมง นอกจากช่วยประหยัดไฟ คุณก็ยังให้ความรู้สึกเย็นสบาย เพราะยังมีความเย็นหลงเหลืออยู่นั่นเอง

“และนี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้แอร์บ้านเย็นสบาย แถมประหยัดไฟได้อย่างคุ้มค่า”

Cr. https://elib.life.ac.th/8-วิธีเปิดแอร์สู้หน้าร้อ/

Categories
บทความ

6 วิธีลดความร้อนในโรงงานและอาคารอุตสาหกรรม

6 วิธีลดความร้อนในโรงงานและอาคารอุตสาหกรรม

ปัญหาความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กลุ้มใจเพราะส่งผลกระทบอย่างมากต่อทั้งผู้อยู่อาศัยในโรงงาน รวมทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อการเก็บสินค้าและเครื่องจักรอีกด้วย

ต้นเหตุของปัญหาความร้อนส่วนใหญ่มาจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศและแสงแดดอันแรงกล้าของประเทศไทย หรือความร้อนที่ปล่อยออกมาจากตัวเครื่องจักรและกระบวนการผลิตวัสดุบางประเทศ เช่น โรงงานหล่อหลอมโลหะ โรงงานผลิตเซรามิค ฯลฯ ก็ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ วันนี้เรามีถึง 6 วิธีในการลดและระบายความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมมาให้ทุกคนนำไปปรับใช้กันดูค่ะ

1. ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ
การใช้พัดลมอุตสาหกรรมถือเป็นวิธีที่เบื้องต้นที่จะช่วยระบายความร้อนสำหรับโรงงานและอาคารเลยค่ะ เพราะพัดลมจะช่วยเป่าให้อากาศเกิดการเคลื่อนที่และหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ทำให้อากาศถ่ายเทมากขึ้น มีความอับชื้นน้อยลง ช่วยพาอากาศภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร และดูดความร้อนออกจากตัวอาคารได้เป็นอย่างดี

ก่อนจะติดตั้งหรือเลือกใช้พัดลมในโรงงาน เราควรจะต้องคำนวณอัตราการเปลี่ยนอากาศและขนาดของพัดลมให้เหมาะสมกับขนาดโรงงาน จำนวนพนักงาน และจำนวนเครื่องจักรในอาคารด้วย ตำแหน่งของพัดลมก็สำคัญค่ะ ถ้าวางไม่ถูกจุดอากาศก็อาจจะถูกระบายออกไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร

2. สร้างช่องระบายอากาศ
การติดตั้งช่องระบายอากาศรอบๆ ตัวโรงงานหรืออาคารนั้นก็ถือเป็นวิธีที่หลายบริษัทเลือกนำไปใช้ เพราะปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้คนภายในรู้สึกร้อนอบอ้าวก็คือการที่อากาศไม่หมุนเวียนและเกิดการอับชื้น การสร้างช่องระบายอากาศจึงช่วยให้อากาศถ่ายเทมากยิ่งขึ้น หลักการทำงานคือการเปิดทางให้อากาศภายในที่ร้อนอบอ้าวไหลออกไปข้างนอกและปล่อยอากาศภายนอกไหลเวียนเข้ามาแทนที่ภายในตัวอาคารนั่นเองค่ะ

3. ใช้เครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่
การใช้เครื่องปรับอากาศหรือพัดลมเคลื่อนที่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำได้ง่ายเช่นกันค่ะ โดยเราสามารถนำตัวเครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ไปวางไว้ยังจุดต่างๆ ที่พนักงานและคนงานต้องการมากที่สุดเพื่อให้ความเย็นเฉพาะจุด เช่น บริเวณใกล้เคียงกับเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรที่แผ่ความร้อน หรือแผนกกระบวนการผลิตและประกอบชิ้นส่วนในโรงงานเหล็กหรือโรงงานผลิตรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ข้อเสียคือเครื่องปรับอากาศชนิดนี้สามารถให้ความเย็นได้เฉพาะจุดเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้พนักงานไม่ได้รับอากาศเย็นอย่างทั่วถึงและนำไปสู่การซื้อเครื่องปรับอากาศเพิ่มโดยใช่เหตุ

4. ติดตั้งเครื่องลดความชื้นในอากาศ
เครื่องลดความชื้นในอากาศจะมีระบบการทำงานคล้ายๆ กับเครื่องปรับอากาศเลยค่ะ คือการดูดความชื้นออกจากอากาศ เปลี่ยนความชื้นให้กลายเป็นหยดน้ำ และหยดน้ำนั้นก็จะถูกปล่อยทิ้งผ่านท่อน้ำทิ้ง หลังจากนั้นเครื่องจะปล่อยอากาศแห้งเข้ามาแทนที่ ซึ่งนอกจากที่จะช่วยให้อากาศเย็นขึ้นแล้วยังช่วยลดโอกาสการเกิดเชื้อราจากความชื้นต้นเหตุของโรคอย่างอื่นตามมา ไม่ว่าจะเป็น ภูมิแพ้ กลาก เกลื้อน และอีกมากมาย

ข้อจำกัดของเครื่องลดความชื้นคือมันสามารถนำไปใช้ได้กับโรงงานบางประเภทเท่านั้น เช่น โรงงานอาหาร โรงงานผลิตยาง หรือโรงงานฟอกย้อม เพราะโรงงานเหล่านี้จะแผ่ความร้อนเปียกออกมาซึ่งเป็นสภาพความร้อนที่มีไอน้ำและความชื้น ในทางกลับกัน โรงงานที่ไม่สามารถใช้เครื่องลดความชื้นอากาศได้ คือโรงงานที่แผ่ความร้อนแห้ง ซึ่งเป็นความร้อนที่เกิดจากกระบวนการผลิตและแทบไม่มีความชื้นอยู่เลย เช่น โรงงานโลหะ โรงงานแก้ว เป็นต้น

5. ฉนวนกันความร้อนพ่นใต้หลังคา
การพ่นฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาถือว่าเป็นวิธีที่นิยมมากในปัจจุบัน เป็นการนำฉนวนกันความร้อนพ่นไปยังพื้นผิวใต้หลังคาเพื่อป้องกัน ดูดซับความร้อนจากแสงแดดให้ทะลุเข้ามาภายในตัวอาคารได้น้อยที่สุด

ข้อดีของฉนวนแบบพ่นนี้คือมันสามารถนำไปใช้ได้กับพื้นที่ที่มีความซับซ้อนหรือยากต่อการปูฉนวนแบบแผ่น แต่ข้อเสียของมันคือเมื่อเวลาผ่านไป ฉนวนที่พ่นไว้จะเกิดการเสื่อมสภาพที่เกิดจากรังสียูวี หมายความว่าฉนวนนั้นจะค่อยๆ หลุดร่อนลงมาอย่างต่อเนื่องเมื่อสภาพของฉนวนนั้นเสื่อม ส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของคนงานภายในอาคารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข้อเสียนี้ก็กลายเป็นข้อจำกัดสำหรับโรงงานบางประเภทอีกด้วย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ห้ามมีสิ่งปนเปื้อนลงไปรวมอยู่กับผลิตภัณฑ์ หรืออุตสาหกรรมรถยนต์ที่ห้ามมีฝุ่นเข้าไปอยู่บนรถเช่นกัน

6. ฉนวนกันความร้อนพ่นบนหลังคา
เนื่องจากข้อจำกัดของการพ่นฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาที่เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพของคนงาน อีกหนึ่งทางเลือกของผู้ประกอบการคือการพ่นฉนวนความร้อนบนหลังคา ข้อดีก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป คุณไม่ต้องกลัวเรื่องการหลุดร่อนของฉนวนที่จะมากระทบสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์ภายในโรงงานอีกต่อไป

อย่างบริษัทโตโยโกเองได้คิดค้นนวัตกรรมหลังคาโฟม 3 ชั้น “โสะเซ” (SOSEI) ด้วยความตั้งใจที่อยากจะกำจัดปัญหานี้ไป เพราะเราให้ความสำคัญกับสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของคนงานเป็นอันดับหนึ่ง นอกจากจะสามารถสะท้อนรังสียูวีและลดอุณหภูมิใต้หลังคาได้มากสุดถึง 15 องศา และที่ ณ อุณภูมิห้องได้ถึง 4 องศาแล้ว โสะเซยังไม่ปล่อยสารที่จะไปทำลายชั้นโอโซนของโลกเราอีกด้วย เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่แก้ไขปัญหาความร้อนได้อย่าง “ยั่งยืน” จริงๆ ค่ะ

สรุปท้ายบทความ
ไม่ว่าใครก็ไม่ชอบอากาศร้อนใช่ไหมล่ะคะ พนักงานและบุคลากรในโรงงานของเราก็เช่นกัน การทำงานภายใต้อากาศที่ร้อนอบอ้าวต้องแลกมาด้วยสุขภาพกายและสุขภาพใจของพนักงาน ยิ่งไปกว่านั้น อากาศที่ร้อนมากๆ ยังอาจจะให้สินค้าเสียหาย เครื่องจักรเสื่อมสภาพ และเพิ่มต้นทุนของเครื่องปรับอากาศอีกด้วย

การแก้ปัญหาความร้อนในโรงงานจึงควรเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับผู้ประกอบการไม่แพ้การสร้างผลกำไรหรือการดำเนินงานเลยค่ะ เพราะถ้าโรงงานเย็น บุคลากรและคนงานทุกคนก็จะมีความสุขมากขึ้น ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เขามาทำงานให้เรา เราก็ยิ่งต้องดูแลสุขภาพเขาเป็นสิ่งตอบแทน

Categories
บทความ

พัดลมอีแวป หรือ ระบบอีแวป (Evap) ดีอย่างไร?

พัดลมอีแวป หรือ ระบบอีแวป (Evap) ดีอย่างไร?

พัดลมอีแวป หรือ ระบบอีแวป (Evap) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
พัดลมอีแวป หรือ ระบบอีแวป (Evap) ดีอย่างไร?
• ลดอุณหภูมิ ได้ 5 – 15 องศา
• ประหยัดกว่าแอร์ 10 เท่า
• มีระบบโอโซนฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
• มีระบบทำความสะอาดอัตโนมัติ
• มีระบบเตือนและตัดปั๊มเมื่อแรงดันน้ำต่ำ
• ให้ปริมาณลมสูงแต่เสียงเบาด้วยใบพัดที่ออกแบบพิเศษ
• เย็นขึ้นด้วยแผ่นทำความเย็นเกรด 5090
• ควบคุมการทำงานด้วยรีโมทคอนโทรล
• ตั้งเวลาเปิด – ปิด อัตโนมัติ
• ใช้เงินลงทุนในการติดตั้งระบบอีแวป ต่ำกว่าการติดตั้งระบบปรับอากาศ (Air Conditioner) และประหยัดพลังงานมากกว่า ในขนาดความสามารถทำความเย็นเท่ากัน
• ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ ระบบไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการบำรุงรักษา ไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะ
• เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปราศจากสารทำความเย็น CFC ไม่สร้างภาวะเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
• สามารถออกแบบให้อาคารเป็น Positive Pressure หรือ Negative Pressure เพื่อสร้างม่านอากาศป้องกันสิ่งเจือปนจากภายนอก
• สามารถใช้งานทั้งในอาคารปิด และพื้นที่โล่งกลางแจ้ง
ระบบอีแวป (Evap) แก้ปัญหาอากาศร้อน
ระบบอีแวป (Evap) คือ การนำอากาศจากภายนอกที่อุณหภูมิปกติ 35 – 40 องศาเซลเซียส มาผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่มีชื่อว่า cooling pad หรือแผงทำความเย็น โดยหลักอาศัยหลักการระเหยตัวของน้ำ ทำให้อากาศมีอุณหภูมิลดต่ำลง 5 – 15 องศาเซลเซียส จึงได้ลมเย็นไปใช้ในการปรับอากาศให้กับบริเวณที่ต้องการ เช่น ภายในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ การลดอุณหภูมิอากาศก่อนนำไประบายความร้อนให้เครื่องจักร
ระบบอีแวป หรือระบบทำลมเย็นถูกใช้อย่างแพร่หลาย ในประเทศไทย ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วน อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ใช้ในงานเกษตรกรรมและปศุสัตว์ และอื่นๆอีกมากมาย


หลักการออกแบบระบบระบายอากาศ
จะต้องคำนึงถึงการไหลเวียนถ่ายเทอากาศภายในพื้นที่ในการออกแบบระบบ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ
แบบจ่ายลมเป็นจุด (Spot Air flow)
ลักษณะการออกแบบรูปแบบนี้ คำนึงถึงการปฏิบัติงานปกติของพนักงาน โดยมีจุดตำแหน่งทำงานคงที่ไม่ ประจำจุดตลอดเวลา ลักษณะนี้จะเน้นในเรื่องจุดตำแหน่งการจ่ายลมเป็นหลัก และระยะความยาวแนวเดินท่อลมจะต้องเหมาะสมกับการออกแบบและสัมพันธ์กับจุดตำแหน่งทำงานของพนักงาน
แบบระบายอากาศทั้งพื้นที่ (Free Blow)
ลักษณะการออกแบบรูปแบบนี้ ต้องคำนึงถึงอัตราการระบายอากาศในพื้นที่ ( Air Change ) จำนวนครั้งใน 1 ชั่วโมง การออกแบบอัตราการระบายอากาศจะต้องออกแบบไม่น้อยกว่าค่าที่กฏหมายกำหนดไว้ อัตราการระบายอากาศยิ่งเปลี่ยนถ่ายอากาศยิ่งมากก็จะยิ่งได้อากาศใหม่ที่เข้ามาแลกเปลี่ยน Fresh Air ก็มากขึ้น ทำให้การ ระบายอากาศภายในพื้นที่ดีขึ้น ค่าแนะนำในการออกแบบควรไม่น้อยกว่า 15 Air change ต่อห้อง
แบบระบบปิด (Close system)
• ระบายอากาศด้วยวิธีระเหยน้ำ(ระบบปิด)
• เหมาะสำหรับการปรับอากาศในพื้นที่โล่ง
• อาคารขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดความร้อนสูง
• สถานที่ที่มีคนจำนวนมาก
• มีต้นทุนในการติดตั้งถูก
• ประหยัดค่าไฟฟ้ารายเดือน เพราะ ใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 5% ของระบบปรับอากาศแบบใช้คอมเพรสเซอร์
แบบจ่ายลมเป็นจุด (Spot Air flow)
• ระบายอากาศด้วยวิธีระเหยน้ำ(เฉพาะจุด)
• เหมาะสำหรับโรงงานที่มีตำแหน่งการทำงานของพนักงานเป็นจุดประจำ และยาวต่อเนื่อง
• การส่งลมเย็นจะสามารถต่อท่อลมไปได้ตามความต้องการ
• เป็นการนำอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกส่งเข้าไปทำความเย็นในอาคาร
• มีการระบายอากาศ เพื่อถ่ายเทอากาศร้อนออกไปนอกอาคาร
แบบระบายอากาศทั้งพื้นที่(Free Blow)
• ระบายอากาศด้วยวิธีระเหยน้ำ (ระบบปิด)
• เหมาะกับการปรับอากาศในพื้นที่โล่ง สถานที่ที่มีคนจำนวนมาก
• อาคารขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดความร้อนสูง
• มีต้นทุนในการติดตั้งถูก และใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 5% ของระบบปรับอากาศแบบใช้คอมเพรสเซอร์
แบบเคลื่อนที่(Mobile unit)
• ระบายอากาศด้วยวิธีระเหยน้ำ(แบบเคลือนที่)
• สำหรับร้านอาหาร งานแสดงสินค้าหรือพื้นที่กลางแจ้งที่เครื่องปรับอากาศทำงานไม่ได้
• ตัวเครื่องจะทำหน้าที่นำพาอากาศเข้ามาเพื่อลดอุณหภูมิทำให้อากาศเย็นลงจากนั้นจะส่งอากาศเย็นออกจากตัวเครื่อง
หลักการทำงานของระบบอีแวป
ระบบอีแวป (Evaporative Cooling Systems) จะมีแผ่นคูลลิ่งแพด(Cooling Pad) หรือแผงทำความเย็น ซึ่งมีน้ำที่ถูกฉีดโดยปั๊มน้ำไหลผ่านทั่วแผ่นอยู่ภายใน เมื่อลมไหลผ่านแผ่นคูลลิ่งแพด (Cooling Pad) ที่เปียกน้ำ ลมที่มีความร้อนปะปนมาจะทำปฏิกริยากับน้ำ ซึ่งมีอุณหภูมิที่เย็นกว่า ทำให้ความร้อนจะระเหยออกไปในระดับนึง เป็นเหตุให้อุณหภูมิลดลงได้ 5 – 15 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของอุณหภูมิของน้ำและอากาศหรือลมร้อนที่ไหลผ่านแผ่นคูลลิ่งแพด แล้วพัดลมขนาดใหญ่จะส่งลมเย็นไปยังเป้าหมายที่ต้องการดังนั้น ระบบอีแวป (Evaporative Cooling Systems) จึงสามารถลดอุณหภูมิ และส่งกระแสลมเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักการดังกล่าว

Categories
บทความ

การระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม

การระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม

การระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม
การระบายอากาศในงานอุตสาหกรรม เป็นระบบกลไกที่นำอากาศบริสุทธิ์ภายนอก เข้ามาในสถานที่ทำงาน (โรงงานหรือโรงงานผลิต) และกำจัดอากาศภายในอาคารที่มีปนเปื้อนฝุ่นละอองหรือสสารไม่พึงประสงค์ต่างๆ
ระบบระบายอากาศ (Ventilation System) ในโรงงานถูกออกแบบเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ปลอดภัยสำหรับพนักงาน และเพื่อกำจัดหรือควบคุมสารปนเปื้อนที่ปล่อยออกมาในสภาพแวดล้อม
การระบายอากาศสามารถทำได้โดยการเปิดหน้าต่าง (ธรรมชาติ) หรือใช้พัดลม/โบลเวอร์ (วิธีการทางกล) สารมลพิษทั่วไปที่ถูกกำจัดออกโดยใช้ระบบระบายอากาศในอุตสาหกรรม ได้แก่ ไอระเหยที่ติดไฟได้, ควันจากการเชื่อม, ฝุ่น, เชื้อรา, เส้นใยแร่ใยหิน, ละอองน้ำมัน, สารเคมีที่เป็นพิษ, ความชื้น และอื่นๆ
ระบบระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม
การติดตั้งระบบระบายอากาศทางอุตสาหกรรมที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ ในการจัดการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพสำหรับพนักงาน สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญต่อการตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร
ระบบระบายอากาศที่ออกแบบมาอย่างดีจะนำอากาศเข้าสู่พื้นที่ทำงานด้วยความเร็วที่กำหนด ผ่านกระบวนการคำนวนและวางแผน สร้างแรงดันอากาศที่จำเป็น (ความดันบวก) และยังช่วยประหยัดต้นทุนสำหรับการทำความร้อนและความเย็นในพื้นที่ปฏิบัติงานอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของระบบระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม
• ให้อากาศที่สดชื่นอย่างต่อเนื่อง
• รักษาอุณหภูมิและความชื้น
• ลดอันตรายจากไฟไหม้และการระเบิด
• ขจัดหรือเจือจางสารปนเปื้อนในอากาศ
ระบบระบายอากาศอุตสาหกรรมประกอบด้วยสองระบบย่อย ดังนี้
1. ระบบจ่ายอากาศบริสุทธิ์ หมายรวมถึงช่องอากาศเข้า อุปกรณ์กรองอากาศ อุปกรณ์ทำความร้อนและ/หรือทำความเย็น พัดลม ท่อระบายอากาศ และการวัดอัตราการจ่ายอากาศ
2. ระบบระบายอากาศเสีย ประกอบด้วย ช่องรับอากาศเข้า ตัวจับอากาศเพื่อนำอากาศที่ปนเปื้อนออกจากพื้นที่หนึ่งระบายออกไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง อุปกรณ์ทำความสะอาดอากาศ ปล่องระบายและพัดลม
ประเภทของระบบระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม
ระบบระบายอากาศในงานอุตสาหกรรมมี 3 ประเภท
1. ระบบเจือจางอากาศ
ระบบเจือจางช่วยลดจำนวนสารปนเปื้อนในอากาศ โดยผสมอากาศที่ปนเปื้อนกับอากาศบริสุทธิ์ที่สะอาด ในการติดตั้งระบบเจือจางนั้น พัดลมดูดอากาศขนาดใหญ่จะติดตั้งไว้ที่ผนังหรือหลังคาโรงงาน นิยมใช้ระบบแบบนี้เมื่อ:
• มลพิษทางอากาศอยู่ในระดับต่ำ และระดับความเป็นพิษต่ำถึงปานกลาง
• สารปนเปื้อนคือ ไอระเหยหรือก๊าซ
• การปล่อยมลพิษมีความสม่ำเสมอ และกระจายตัวอย่างกว้างขวาง
• แนะนำสำหรับสภาพแวดล้อมภูมิอากาศปานกลาง
• ความร้อนถูกระบายออกสู่ภายนอก
• แหล่งที่มาของสารปนเปื้อนเคลื่อนที่ถูกควบคุม
ข้อดีของการระบบระบายอากศแบบเจือจาง:
• ต้องการการบำรุงรักษาน้อย
• ลดค่าอุปกรณ์ และค่าติดตั้ง
• แนะนำสำหรับสารเคมีที่เป็นพิษต่ำจำนวนเล็กน้อย
• ใช้สำหรับแหล่งปนเปื้อนที่กระจายตัวหรือเคลื่อนที่
ข้อเสียของการระบบระบายอากศแบบเจือจาง:
• ไม่แนะนำสำหรับสารเคมีที่เป็นพิษสูง
• ไม่สามารถขจัดสิ่งปนเปื้อนได้หมด จึงไม่แนะนำสำหรับฝุ่นละออง, ควัน, ก๊าซ หรือไอระเหยที่มีความเข้มข้นสูง
• ต้องใช้อากาศร้อนหรือเย็นทดแทน (Make up air) ในปริมาณมาก
• ไม่แนะนำสำหรับการปล่อยสารปนเปื้อนที่ผิดปกติ
เมคอัพแอร์คืออะไร?
เมคอัพแอร์ (Make up air) คือ อากาศที่ใช้ทดแทนอากาศที่แยกออกมาจากที่ทำงาน หากไม่มีการเปลี่ยนทดแทน สถานที่ทำงานอาจ “ขาดอากาศ” และส่งผลให้แรงดันอากาศติดลบ แรงดันอากาศติดลบสามารถเพิ่มแรงต้านต่อระบบระบายอากาศทำให้อากาศเคลื่อนตัวน้อยลง
ในกำหนดความดันในที่ทำงาน: ให้เปิดประตู 3 มม. แล้วจับท่อควันไว้หน้าช่องเปิด หากควันถูกดูดเข้าไปในห้อง แสดงว่าห้องนั้นมีแรงดันลบ ถ้าควันถูกผลักออกจากห้อง แสดงว่าห้องมีแรงดันบวก หากควันลอยขึ้นไปในอากาศ ความดันในห้องจะเท่ากับแรงดันภายนอก
หากห้องมีแรงดันลบ วิธีแก้ไขที่ง่ายคือการติดตั้งพัดลมดูดอากาศแยกต่างหาก โดยอยู่ห่างจากพัดลมดูดอากาศเพื่อนำอากาศบริสุทธิ์ที่ไม่ปนเปื้อนออกจากภายนอกเข้ามา ตามหลักการแล้วอากาศจะสะอาดและอบอุ่นในฤดูหนาวหรืออากาศเย็นในฤดูร้อน จึงควรตรวจสอบตำแหน่งที่เหมาะสมของพัดลมดูดอากาศด้วย
2. ระบบระบายอากาศเสียในพื้นที่
ระบบระบายอากาศเสียในพื้นที่จะดักจับสิ่งปนเปื้อนที่แหล่งกำเนิดและขับออกไปภายนอก มันทำงานบนหลักการที่อากาศเคลื่อนจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ความแตกต่างของแรงดันนี้เกิดจากพัดลมที่ดึงอากาศผ่านระบบระบายอากาศ
ระบบนี้ใช้ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนในอากาศสูง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับพนักงานมากขึ้น ระบบระบายอากาศใช้สำหรับแหล่งที่แยกออกจากส่วนอื่นหรือแหล่งปนเปื้อน ส่วนประกอบของระบบนี้คือ
• เครื่องดูดควัน หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อดักจับมลพิษทางอากาศที่ต้นทาง
• ท่อส่งใกล้กับแหล่งที่มาของสารปนเปื้อนมากที่สุด เพื่อย้ายสิ่งปนเปื้อนออกจากภายใน วัสดุต้องเข้ากันได้กับทิศทางการไหลของลม
• ระบบกรองอากาศคุณภาพเพื่อทำความสะอาดอากาศขณะเคลื่อนที่
• พัดลมที่เคลื่อนอากาศผ่านระบบและเป่าลมออกนอกบ้าน
• ส่วนดักจับสารปนเปื้อนที่ใช้ขจัดสิ่งปนเปื้อน
• ต้องพิจารณาพนักงานเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบนี้ด้วย
หมายเหตุ: พัดลมต้องเป็นชนิด proper type, wheel มีการจัดเรียงและขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน พัดลมอาจต้องมีโครงสร้างกันประกายไฟหรือตัวเลือกพิเศษอื่นๆ
ระบบนี้สามารถจัดการกำจัดมลพิษได้หลายชนิด รวมทั้งควันโลหะและฝุ่นละออง ใช้พลังงานน้อยกว่าระบบเจือจาง ระบบระบายอากาศอุตสาหกรรมประเภทนี้ใช้เมื่อ:
• การปล่อยมลพิษที่ไม่สม่ำเสมอกันในแต่ละช่วงเวลา
• สารอันตรายที่มีความเข้มข้นสูง
• แหล่งที่มาของสารปนเปื้อนแบบอยู่กับที่
• พนักงานงานอยู่ใกล้แหล่งปนเปื้อน
• โรงงานอยู่ในสถานที่ที่มีสภาพอากาศเลวร้าย
• ไม่จำเป็นต้องหมุนเวียนอากาศในโรงงาน
ข้อดีของระบบระบายอากาศเสียในพื้นที่:
• ต้องการเมคอัพแอร์น้อยลงเพราะปริมาณอากาศที่ระบายออกมีน้อยลง
• ลดค่าใช้จ่ายในการทำความร้อนและความเย็น
• จับการปล่อยที่แหล่งกำเนิดและกำจัดออก
• เป็นการระบายอากาศที่ดีที่สุดสำหรับสารปนเปื้อน, ควัน, ก๊าซ, ไอระเหย และฝุ่นละอองในอากาศที่เป็นพิษสูง
ข้อเสียของระบบระบายอากาศเสียในพื้นที่:
• ค่าใช้จ่ายในการออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาสูง
• ต้องบำรุงรักษา ตรวจสอบ และทำความสะอาดเป็นประจำ
3. ระบบระบายและควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร
ระบบระบายและควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร ซึ่งให้ความร้อนหรือความเย็นสดชื่นแก่อาคาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบทำความร้อน การระบายอากาศ และระบบปรับอากาศ (HVAC) ส่วนประกอบของระบบ HVAC ประกอบด้วย:
• อากาศไหลเข้า
• อุปกรณ์กรองอากาศ
• อุปกรณ์ทำความร้อน/ทำความเย็น
• พัดลม
• ช่องท่อ
• ตัววัดอัตราการกระจายอากาศ
ระบบระบายอากาศเสียประกอบด้วย:
• ช่องรับอากาศเข้า
• ท่อส่งลม จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบิรเวณหนึ่ง
• อุปกรณ์ทำความสะอาดอากาศ
• พัดลมเพื่อนำอากาศจากภายนอกโรงงานเข้ามา และนำอากาศภายในอาคารที่ปนเปื้อนออกสู่ภายนอกอาคาร
• ระบบระบายอากาศ
• เครื่องดูดควันและฝุ่น
• Air Amplifiers
Air Amplifiers เรียกอีกอย่างว่า “Air Movers” ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายอากาศในปริมาณมาก Air Amplifiers ใช้อากาศอัดขนาดเล็กเพื่อให้เกิดอากาศที่มีความเร็วในการไหล และมีแรงดันต่ำเป็นเอาต์พุต เหมาะสำหรับการระบายความร้อนและการระบายอากาศ
แอมพลิฟายเออร์ของอากาศใช้เพื่อลำเลียงผงและฝุ่นละออง, ควันในถังไอเสีย และเคลื่อนย้ายอากาศ 12 ถึง 20 เท่าในพื้นที่ที่มีท่อ ถึง 60 เท่าในพื้นที่ที่ไม่มีท่อ
Air Amplifiers ใช้อากาศอัดจำนวนเล็กน้อยเพื่อดึงกระแสอากาศได้มากถึง 17 เท่า เพื่อกำจัดควันอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
สำหรับการระบายอากาศ สามารถดูดควันออกไปได้ไกลถึง 50 ฟุต (15.24 ม.) และควบคุมปริมาณการดูดและการไหลได้
หากจำเป็นต้องรวบรวมและเคลื่อนย้ายฝุ่นหรือควันจำนวนมากในอากาศในระยะไกล Air Amplifiers จะช่วยเพิ่มความสามารถของระบบการลำเลียงอากาศ (air conveyor) ในระยะทางไกล

Categories
บทความ

จัดบ้านหน้าร้อนแบบไหนช่วยลดภาระเครื่องปรับอากาศ

จัดบ้านหน้าร้อนแบบไหนช่วยลดภาระเครื่องปรับอากาศ

บ้านเราถือได้ว่าเป็นเมืองร้อน ถึงแม้จะมีฤดูฝน ฤดูหนาวตามกฎธรรมชาติ แต่อากาศบ้านเราก็ยังร้อนอยู่ดีแทบจะไม่แตกต่างกันในแต่ละฤดู ด้วยเพราะเป็นเมืองร้อน การจะทำให้บ้านเย็นคงเป็นเรื่องที่ยากเอาการ บวกกับช่วงนี้เรากำลังประสบปัญหาไวรัส Covid-19 ทำให้หลายองค์กรมีประกาศให้ทำงานที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งแน่นอนว่าเราอาจต้องแบกรับภาระค่าไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น

เพราะเมื่อเราต้อง Work from Home ทำให้มีการใช้เครื่องปรับอากาศกันอย่างหนักมากขึ้น ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายมาช่วยในเรื่องการคืนเงินประกันไฟฟ้าแล้วก็จริง แต่ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นอื่นๆ นอกเหนือจากเครื่องปรับอากาศที่ต้องเปิดใช้งานตลอดทั้งวัน หนึ่งในนั้นคือคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร และโคมไฟ แล้วทำอย่างไรจะช่วยลดความร้อนในบ้าน และประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จึงขอชวนทุกท่านมาจัดบ้าน จัดห้องใหม่เพื่อช่วยประหยัดแอร์ที่เหมาะกับช่วงหน้าร้อนและให้คุณพร้อม Work from Home ใครอยากบ้านเย็นทำได้ง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

จัดแบบไหนช่วยลดภาระเครื่องปรับอากาศ

  1. เริ่มจากล้างแอร์ก่อน

เมื่อเครื่องปรับอากาศผ่านการใช้งานไปนานๆ ฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกจึงสะสมอยู่มาก ทำให้ความเย็นสู้กับอุณหภูมิภายนอกที่ร้อนอบอ้าวได้ไม่เต็มที่ แอร์จึงทำงานหนักมากขึ้นและกินไฟมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากให้ช่างแอร์มาล้างแอร์แล้ว วิธีง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองคือถอดแผ่นกรองอากาศออกมาทำความสะอาดเป็นประจำ

  1. ป้องกันแสงแดดเข้ามาในห้อง

ติดผ้าม่านหรือบานเกล็ด ยิ่งเป็นผ้าม่านที่สามารถกันความร้อนได้เป็นพิเศษยิ่งดี เพื่อป้องกันแสงแดดและความร้อนไม่ให้เข้ามามากเกินไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องเปิดรับแสงแดดในบางครั้งด้วยในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น เมื่อเปิดม่านแล้วแนะนำให้ปิดไฟ เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนในห้องมากเกินไป เท่านี้บ้านก็เย็นขึ้นแล้ว

  1. ล็อกพื้นที่เปิดแอร์

เลือกเปิดแอร์ในห้องที่ใช้งานเท่านั้น โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ต้อง Work from Home แน่นอนว่าห้องทำงานหรือห้องนั่งเล่นจะถูกใช้เป็นพื้นที่ในการทำงาน ซึ่งห้องเหล่านั้นควรจะมีประตูปิด เพื่อไม่ความเย็นจากเครื่องปรับอากาศลอดผ่านช่องประตูต่างๆ ออกไปข้างนอกได้ ควรตั้งอุณหภูมิที่เหมาะสมคงที่ที่ 25 องศา นอกจากช่วยให้เแอร์ไม่ต้องทำงานหนัก ความเย็นสม่ำเสมอ ยังสามารถประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย

  1. ใช้เครื่องปรับอาากาศเคลื่อนที่

เครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ หรือที่เรามักจะชินกับคำว่าพัดลมไอน้ำ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะใช้ไฟน้อยกว่าเครื่องปรับอากาศเกินกว่า 50% ให้ความเย็นเฉพาะจุดในพื้นที่ที่ต้องการ โดยอาจเปิดใช้งานในช่วงเช้าหรือเย็นที่อากาศไม่ร้อนมากนัก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดภาระไม่ให้แอร์ทำงานหนัก และประหยัดค่าไฟฟ้าได้

จัดแบบไหนช่วยลดภาระเครื่องปรับอากาศ

จัดแบบไหนช่วยลดภาระเครื่องปรับอากาศ

จัดแบบไหนช่วยลดภาระเครื่องปรับอากาศ

สุดท้ายแล้วต่อให้อากาศข้างนอกจะร้อนแค่ไหน บ้านเราก็จะเป็นบ้านเย็นอยู่เสมอ เพราะรู้วิธีจัดบ้านอย่างฉลาด ไม่ใช่แค่ทำให้บ้านเย็นเท่านั้นแต่ยังประหยัดค่าไฟอีกด้วย ด้วยความห่วงใยจาก แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

ขอบคุณภาพสวยๆ จากโครงการ บ้านชัยพฤกษ์ บางนา กม. 7 / คอนโดฯ The Key / คอนโดฯ The Room

Cr. https://www.lh.co.th/th/lh-living-concept/tips/arranging-the-house-in-summer-help-reduce-the-burden-of-air-conditioning

Categories
บทความ

ฤดูร้อนนี้ อากาศยิ่งร้อน แอร์ยิ่งกินไฟ จริงหรือไม่ ?

ฤดูร้อนนี้ อากาศยิ่งร้อน แอร์ยิ่งกินไฟ จริงหรือไม่ ?

ในช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่าปกติ การเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือที่เราเรียกติดปากกันว่า แอร์ ภายในอาคารหรือที่อยู่อาศัย ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสิ่งที่ประชาชนต่างสงสัยและอยากรู้ คือ อากาศยิ่งร้อน แอร์ยิ่งกินไฟ จริงหรือไม่ ?

รศ.ดร. ประกอบ สุรวัฒนาวรรณ อาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า การทดลองในต่างประเทศ พบว่า ยิ่งอากาศข้างนอกร้อนหรืออุณหภูมิสูง ก็จะยิ่งกินไฟขึ้น

แล้วในไทยหละ ยิ่งร้อนแอร์ยิ่งกินไฟ จริงไหม ?

รศ.ดร. ประกอบ ระบุว่า จากการทดลองร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง(MEA) ในการพิสูจน์ว่า หากอุณหภูมิภายนอกสูง จะทำให้แอร์กินไฟจริงหรือไม่ พบว่า ทุก ๆ 1 องศาที่อากาศข้างนอกร้อนขึ้น แอร์จะกินไฟเพิ่มขึ้นมากกว่า 3% จากไฟปกติที่ใช้ ซึ่งเมื่ออากาศร้อน ตัวแอร์เองก็ต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการให้ความเย็นตามความเย็นที่เราตั้งไว้

“ทำไมเปิดแอร์เท่าเดิม แต่พออากาศร้อนขึ้น ค่าไฟเลยสูงขึ้น นั่นก็เป็นเพราะว่า ยิ่งอากาศร้อน แอร์ก็ยิ่งกินไฟมากขึ้นเพื่อให้ห้องเย็นเท่าเดิม”

อากาศร้อนไม่ใช่แค่แอร์ที่กินไฟเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน ไม่ใช่แค่แอร์เท่านั้นที่เมื่ออากาศร้อนแล้วจะกินไฟมากขึ้น ตู้เย็นก็เช่นกัน เพราะเมื่ออากาศภายนอกร้อนขึ้น เครื่องทำความเย็นก็ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่อยู่ตลอดเวลา

แล้วจะประหยัดได้อย่างไร ?

นายจุมกฎ หิมะเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร การไฟฟ้านครหลวง(MEA) ระบุว่า แอร์เป็นหนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดเกือบ 70% ของค่าไฟ ดังนั้นมองว่าสิ่งที่เราจะสามารถประหยัดได้คือการลดอุณหภูมิแอร์ลงให้มาอยู่ที่ 26-27 องศา ก็จะช่วยประหยัดไฟได้ และ เมื่อลดอุณหภูมิแล้วก็สามารถเปิดพัดลมช่วยได้

“การล้างแอร์ด้วยตัวเอง โดยการล้างไส้กรอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และล้างใหญ่โดยช่างแอร์ อย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน ก็จะช่วยประหยัดพลังงานได้ ขณะที่ตู้เย็นหากจัดตู้เย็นให้เหมาะสม ไม่ใส่ของมากจนเกินไปก็จะสามารถลดการใช้พลังงานได้เช่นกัน”

นอกจากนี้การเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ให้ประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนจากหลอดไฟแบบขดลวด (หลอดไส้) เป็นหลอด LED , ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งาน และ ตรวจเช็กอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพสมบรูณ์อยู่เสมอ เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดหากชำรุดก็มีโอกาสจะเกิดการใช้ไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น

  • ข้อมูลอ้างอิง : โครงการวิจัยผลกระทบของอุณหภูมิแวดล้อมกับการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ จัดทำโดย ฝ่ายวิจัยและพัฒนา การไฟฟ้านครหลวง และ โครงการวิจัยและพัฒนาความชำนาญด้านไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Cr. https://www.springnews.co.th/spring-life/822957

Categories
บทความ

HVAC System คืออะไร ?

HVAC System คืออะไร ?

HVAC System คืออะไร ?
ระบบ HVAC หรือ ระบบปรับสภาวะอากาศ เป็นระบบที่สำคัญอีก หนึ่งระบบ ซึ่งจะจัดการอากาศเพื่อความคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาด ให้อากาศกระจายออกไปตามที่ต้องการสำหรับพื้นที่นั้นๆ เช่น ตามห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร ตึก สำนักงาน ห้องทดลองฯลฯให้อากาศกระจายออกไปตามที่ต้องการสำหรับพื้นที่นั้นๆ เช่น ตามห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร ตึก สำนักงาน ห้องทดลองฯลฯ
ส่วนประกอบหลักของโครงสร้างระบบ HVAC System
Heating : การทำความร้อน
Ventilation : การระบายอากาศ
Air conditioning : การปรับอากาศ
โครงสร้างของ HVAC ทั้ง 3 ระบบ จะทำงานควบคู่กันตลอดเวลา เพื่อประสิทธิภาพในการจัดการอากาศหลักการกลศาสตร์ทางวิศวกรรม ระบบนี้เหมาะสมกับสถานที่สำหรับอุตสาหกรรมในระบบปิด ที่มีลักษณะซับซ้อนหรือต้องการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น
ระบบ HVAC System ทำงานอย่างไร ?
ระบบ HVAC เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้คุณภาพของอากาศภายในบริเวณพื้นที่นั้นๆเกิดความเย็นสบาย ควบคุมความชื้นให้เหมาะสม สะอาด ระบบ HVAC จะเริ่มจากการผลิตน้ำเย็น ซึ่งในปัจจุบันมักจะใช้ระบบ Chiller System ในการผลิตน้ำเย็น ซึ่งภายใน Chiller จะประกอบด้วยอุปกรณ์หลักคือ คอมเพรสเซอร์ , คอนเดนเซอร์ , Expansion valve และ อีวาพอเรเตอร์ เพื่อนำน้ำเย็นไปผ่าน AHU น้ำเย็นจะแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศจากช่อง Return ได้อากาศที่มีความเย็น ส่งไปยังบริเวณต่างๆ ที่ต้องการทำความเย็น

ระบบ HVAC เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้คุณภาพของอากาศภายในบริเวณพื้นที่นั้นๆเกิดความเย็นสบาย ควบคุมความชื้นให้เหมาะสม สะอาด ระบบ HVAC จะเริ่มจากการผลิตน้ำเย็น ซึ่งในปัจจุบันมักจะใช้ระบบ Chiller System ในการผลิตน้ำเย็น ซึ่งภายใน Chiller จะประกอบด้วยอุปกรณ์หลักคือ คอมเพรสเซอร์ , คอนเดนเซอร์ , Expansion valve และ อีวาพอเรเตอร์ เพื่อนำน้ำเย็นไปผ่าน AHU น้ำเย็นจะแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศจากช่อง Return ได้อากาศที่มีความเย็น ส่งไปยังบริเวณต่างๆ ที่ต้องการทำความเย็น

HVAC มีความแตกต่าง กับเครื่องปรับอากาศ อย่างไร
เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านทั้วไป จะถูกออกแบบมาให้ปรับอากาศห้องต่างๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และจำนวนห้องไม่มาก โดยจะถ่ายเทความร้อนผ่าน สารทำความเย็นที่วิ่งผ่านคอยล์เย็นเครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านนี้จะมีชื่อเรียกว่า เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ( Split Type )
ระบบ HVAC เป็นระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ ที่ต้องการปรับอากาศ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร ตึก สำนักงาน ห้องทดลองฯลฯ ที่จำเป็นต้องการปรับอากาศหลายห้อง หลายโซน โดยใช้น้ำเป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อน