พัดลมอีแวป หรือ ระบบอีแวป (Evap) ดีอย่างไร?

พัดลมอีแวป หรือ ระบบอีแวป (Evap) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
พัดลมอีแวป หรือ ระบบอีแวป (Evap) ดีอย่างไร?
• ลดอุณหภูมิ ได้ 5 – 15 องศา
• ประหยัดกว่าแอร์ 10 เท่า
• มีระบบโอโซนฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
• มีระบบทำความสะอาดอัตโนมัติ
• มีระบบเตือนและตัดปั๊มเมื่อแรงดันน้ำต่ำ
• ให้ปริมาณลมสูงแต่เสียงเบาด้วยใบพัดที่ออกแบบพิเศษ
• เย็นขึ้นด้วยแผ่นทำความเย็นเกรด 5090
• ควบคุมการทำงานด้วยรีโมทคอนโทรล
• ตั้งเวลาเปิด – ปิด อัตโนมัติ
• ใช้เงินลงทุนในการติดตั้งระบบอีแวป ต่ำกว่าการติดตั้งระบบปรับอากาศ (Air Conditioner) และประหยัดพลังงานมากกว่า ในขนาดความสามารถทำความเย็นเท่ากัน
• ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ ระบบไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการบำรุงรักษา ไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะ
• เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปราศจากสารทำความเย็น CFC ไม่สร้างภาวะเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
• สามารถออกแบบให้อาคารเป็น Positive Pressure หรือ Negative Pressure เพื่อสร้างม่านอากาศป้องกันสิ่งเจือปนจากภายนอก
• สามารถใช้งานทั้งในอาคารปิด และพื้นที่โล่งกลางแจ้ง
ระบบอีแวป (Evap) แก้ปัญหาอากาศร้อน
ระบบอีแวป (Evap) คือ การนำอากาศจากภายนอกที่อุณหภูมิปกติ 35 – 40 องศาเซลเซียส มาผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่มีชื่อว่า cooling pad หรือแผงทำความเย็น โดยหลักอาศัยหลักการระเหยตัวของน้ำ ทำให้อากาศมีอุณหภูมิลดต่ำลง 5 – 15 องศาเซลเซียส จึงได้ลมเย็นไปใช้ในการปรับอากาศให้กับบริเวณที่ต้องการ เช่น ภายในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ การลดอุณหภูมิอากาศก่อนนำไประบายความร้อนให้เครื่องจักร
ระบบอีแวป หรือระบบทำลมเย็นถูกใช้อย่างแพร่หลาย ในประเทศไทย ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วน อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ใช้ในงานเกษตรกรรมและปศุสัตว์ และอื่นๆอีกมากมาย


หลักการออกแบบระบบระบายอากาศ
จะต้องคำนึงถึงการไหลเวียนถ่ายเทอากาศภายในพื้นที่ในการออกแบบระบบ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ
แบบจ่ายลมเป็นจุด (Spot Air flow)
ลักษณะการออกแบบรูปแบบนี้ คำนึงถึงการปฏิบัติงานปกติของพนักงาน โดยมีจุดตำแหน่งทำงานคงที่ไม่ ประจำจุดตลอดเวลา ลักษณะนี้จะเน้นในเรื่องจุดตำแหน่งการจ่ายลมเป็นหลัก และระยะความยาวแนวเดินท่อลมจะต้องเหมาะสมกับการออกแบบและสัมพันธ์กับจุดตำแหน่งทำงานของพนักงาน
แบบระบายอากาศทั้งพื้นที่ (Free Blow)
ลักษณะการออกแบบรูปแบบนี้ ต้องคำนึงถึงอัตราการระบายอากาศในพื้นที่ ( Air Change ) จำนวนครั้งใน 1 ชั่วโมง การออกแบบอัตราการระบายอากาศจะต้องออกแบบไม่น้อยกว่าค่าที่กฏหมายกำหนดไว้ อัตราการระบายอากาศยิ่งเปลี่ยนถ่ายอากาศยิ่งมากก็จะยิ่งได้อากาศใหม่ที่เข้ามาแลกเปลี่ยน Fresh Air ก็มากขึ้น ทำให้การ ระบายอากาศภายในพื้นที่ดีขึ้น ค่าแนะนำในการออกแบบควรไม่น้อยกว่า 15 Air change ต่อห้อง
แบบระบบปิด (Close system)
• ระบายอากาศด้วยวิธีระเหยน้ำ(ระบบปิด)
• เหมาะสำหรับการปรับอากาศในพื้นที่โล่ง
• อาคารขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดความร้อนสูง
• สถานที่ที่มีคนจำนวนมาก
• มีต้นทุนในการติดตั้งถูก
• ประหยัดค่าไฟฟ้ารายเดือน เพราะ ใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 5% ของระบบปรับอากาศแบบใช้คอมเพรสเซอร์
แบบจ่ายลมเป็นจุด (Spot Air flow)
• ระบายอากาศด้วยวิธีระเหยน้ำ(เฉพาะจุด)
• เหมาะสำหรับโรงงานที่มีตำแหน่งการทำงานของพนักงานเป็นจุดประจำ และยาวต่อเนื่อง
• การส่งลมเย็นจะสามารถต่อท่อลมไปได้ตามความต้องการ
• เป็นการนำอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกส่งเข้าไปทำความเย็นในอาคาร
• มีการระบายอากาศ เพื่อถ่ายเทอากาศร้อนออกไปนอกอาคาร
แบบระบายอากาศทั้งพื้นที่(Free Blow)
• ระบายอากาศด้วยวิธีระเหยน้ำ (ระบบปิด)
• เหมาะกับการปรับอากาศในพื้นที่โล่ง สถานที่ที่มีคนจำนวนมาก
• อาคารขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดความร้อนสูง
• มีต้นทุนในการติดตั้งถูก และใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 5% ของระบบปรับอากาศแบบใช้คอมเพรสเซอร์
แบบเคลื่อนที่(Mobile unit)
• ระบายอากาศด้วยวิธีระเหยน้ำ(แบบเคลือนที่)
• สำหรับร้านอาหาร งานแสดงสินค้าหรือพื้นที่กลางแจ้งที่เครื่องปรับอากาศทำงานไม่ได้
• ตัวเครื่องจะทำหน้าที่นำพาอากาศเข้ามาเพื่อลดอุณหภูมิทำให้อากาศเย็นลงจากนั้นจะส่งอากาศเย็นออกจากตัวเครื่อง
หลักการทำงานของระบบอีแวป
ระบบอีแวป (Evaporative Cooling Systems) จะมีแผ่นคูลลิ่งแพด(Cooling Pad) หรือแผงทำความเย็น ซึ่งมีน้ำที่ถูกฉีดโดยปั๊มน้ำไหลผ่านทั่วแผ่นอยู่ภายใน เมื่อลมไหลผ่านแผ่นคูลลิ่งแพด (Cooling Pad) ที่เปียกน้ำ ลมที่มีความร้อนปะปนมาจะทำปฏิกริยากับน้ำ ซึ่งมีอุณหภูมิที่เย็นกว่า ทำให้ความร้อนจะระเหยออกไปในระดับนึง เป็นเหตุให้อุณหภูมิลดลงได้ 5 – 15 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของอุณหภูมิของน้ำและอากาศหรือลมร้อนที่ไหลผ่านแผ่นคูลลิ่งแพด แล้วพัดลมขนาดใหญ่จะส่งลมเย็นไปยังเป้าหมายที่ต้องการดังนั้น ระบบอีแวป (Evaporative Cooling Systems) จึงสามารถลดอุณหภูมิ และส่งกระแสลมเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักการดังกล่าว